Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคหลายบุคลิก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

29-04-2023 12:32

โรคหลายบุคลิก หรือ Multiple Personality Disorder ถูกจัดอยู่ในโรคทางจิตเวชประเภท Dissociative identity disorders ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายบุคลิกจะมีสองอัตลักษณ์หรือมีบุคลิกมากกว่าหนึ่งบุคลิกในคนเดียวกัน ซึ่งบุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำเมื่ออีกหนึ่งบุคลิกเข้ามาควบคุม

ภาพประกอบเคส

โรคหลายบุคลิก หรือ Multiple Personality Disorder ถูกจัดอยู่ในโรคทางจิตเวชประเภท Dissociative identity disorders ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายบุคลิกจะมีสองอัตลักษณ์หรือมีบุคลิกมากกว่าหนึ่งบุคลิกในคนเดียวกัน ซึ่งบุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำเมื่ออีกหนึ่งบุคลิกเข้ามาควบคุม

หลายคนอาจสับสนว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนคนนี้ป่วยหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น คนที่อยู่กับเพื่อนมีความกล้าแสดงออก แต่อยู่กับผู้ใหญ่อาจไม่ค่อยพูด เงียบ และเหนียมอาย นี่เป็นบุคลิกภาพของคนเดียวที่แตกต่างไปตามสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติไม่ใช่อาการป่วย แต่อาการป่วยที่แท้จริงคือความหลากหลายของอัตลักษณ์ โดยอัตลักษณ์เป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวตนของคนคนนั้น

ข้อมูลจากรายการพบหมอรามา ระบุว่า ในคนปกติจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียว แต่ในผู้ป่วยเป็นโรคหลายอัตลักษณ์มักมีมากกว่าหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องกับสติ ความจำ เอกลักษณ์ของตัวเอง และการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยในผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดเพี้ยนทั้งหมดในส่วนที่กล่าวมา เพราะในตัวตนของคนเหล่านั้นมีหลายส่วนที่ไม่ต่อเนื่องกัน หรือถูกแยกออกจากกันเป็นหลายส่วน อย่างในคนทั่วไปจะรู้ตัวเองว่าตัวเองถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร หรือตกอยู่ในสถานการณ์ไหน เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักจากใคร แต่เขาก็ยังไม่ลืมตัวตนของตัวเอง เพียงแต่จะแสดงออกแตกต่างกันไปตามสถานการณ์

แต่ในผู้ป่วย ความเป็นตัวตนเหล่านั้นจะขาดออกจากกัน ทำให้อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน บางครั้งจะรู้สึกรักตัวเอง แต่บางครั้งก็จะรู้สึกเกลียดตัวเอง และมีความกดดันเกิดขึ้น มีความทรงจำเกี่ยวกับตัวเองที่ขาดหายไป จึงแสดงออกแตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น เกิดจากพันธุกรรมและประสบการณ์วัยเด็ก ที่อาจมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก ถูกทำร้ายทางเพศ หรือมีเหตุการณ์ที่รุนแรงทางเพศ

เมื่อผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรงจึงมีกลไกป้องกันตัวเองเกิดขึ้น และตัดขาดจากตัวเอง ตัดขาดจากความทรงจำของตัวเอง เพราะรู้สึกไม่ชอบและไม่ยอมรับในตัวตนของตัวเอง จึงแสดงออกในอัตลักษณ์ที่แตกต่างออกไป บางครั้งพบร่วมกับภาวะโรคซึมเศร้า หรือเจอร่วมกับประวัติของการถูกทำร้าย โดยคนไข้จะแสดงอาการเมื่อเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ เพราะคนไข้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัย

การรักษาอาการดังกล่าวจะต้องใช้จิตบำบัดในระยะยาว ซึ่งจะต้องค่อยๆ ปรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน โดยใช้จิตแพทย์เป็นหลักในการรักษา สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือให้ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนไข้เป็น เมื่อคนไข้แสดงอาการก็พยายามยอมรับ หรือไม่แสดงอาการต่อต้าน เพื่อให้คนไข้รู้สึกยอมรับในตัวเองให้ได้ และอัตลักษณ์ของคนไข้ก็จะค่อยๆ กลมกลืนกัน

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิก
เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิกตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ในการพิมพ์ครั้งที่ 5 ระบุถึงอาการของผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกภาพดังต่อไปนี้

  • มีการแสดงอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปอย่างชัดเจน โดยพิจารณาความแตกต่างจากรูปแบบของความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ซึ่งการเกิดขึ้นของบุคลิกเหล่านี้สามารถประเมินได้ด้วยตนเองหรือเป็นการสังเกตจากนักบำบัดเพื่อการวินิจฉัย
  • เกิดการสูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ที่จำกัดว่าบุคคลหนึ่งควรจะจดจำอะไรได้บ้าง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือภยันตราย และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  • มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามหลักวัฒนธรรมหรือศาสนา
  • อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลลัพธ์ของการใช้สารใดๆ เช่นแอลกอฮอล์ ยารักษาโรค หรือสารเสพติด

ที่มา :
1.workpointtoday https://bit.ly/3ndxf7K
2.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จ.ขอนแก่น https://bit.ly/3LEGsiT


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท