Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ไอเรื้อรังหลังการติดเชื้อ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

29-04-2023 12:27

โดยส่วนมากผู้ป่วยที่มีอาการไอ จะเป็นลักษณะของการไอแห้ง ลักษณะกึ่งเฉียบพลันภายหลังการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัด , ไข้หวัดใหญ่ โดยอาการไอจะคงอยู่นานกว่า 3-8 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “Post-infectious Cough”

ภาพประกอบเคส

โดยส่วนมากผู้ป่วยที่มีอาการไอ จะเป็นลักษณะของการไอแห้ง ลักษณะกึ่งเฉียบพลันภายหลังการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัด , ไข้หวัดใหญ่ โดยอาการไอจะคงอยู่นานกว่า 3-8 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “Post-infectious Cough”

สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง
มาจากเสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอหรืออาจเกิดจากการอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อในตอนแรก อีกทั้งการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนจะเกิดเมือกปริมาณมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกไปจากปอดได้หมด ทำให้เกิดภาวะไอเรื้อรังยาวนานขึ้นด้วย

ยาที่ใช้รักษาอาการไอเรื้อรังหลังการติดเชื้อ ได้แก่
1. กลุ่มยาที่ช่วยลดการเกิด postnasal drip
2. กลุ่มยาที่ช่วยต้านการอักเสบ การไอหลังการติดเชื้ออาจเกิดจากการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจทำให้ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ไวขึ้น
3. กลุ่มยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอ

การบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง
1. การใช้น้ำมันยูคาลิปตัส สามารถบรรเทาอาการไอได้ โดยทำให้ความข้นของเสมหะลดลง การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัสเพื่อสูดดมหรือทาบริเวณหน้าแก หลัง และลำคอ
2. การดื่มชาหรือกาแฟผสมน้ำผึ้ง อาจช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังได้ อันเนื่องมาจากฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลชีพ และต้านการอักเสบ
3. การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ จะช่วยลดการไอ ช่วยชะล้างและลดความเข้มข้นของเสมหะ
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือสภาวะที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น มลภาวะ การสูบบุหรี่

ที่มา : กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://bit.ly/3V4BejB


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท