Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เช็กระดับ...ติดพนันถึงขั้นไหน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

29-04-2023 11:34

ภาวะเสพติดการพนันนั้น มีอาการหรืออาการแสดงของการติดการพนันตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ American Psychiatric Association ดังนี้ (โดยได้จัดลำดับเป็นคำย่อ WAGER OFTEN เพื่อให้สะดวกในการจดจำได้ง่ายๆ)

ภาพประกอบเคส

ภาวะเสพติดการพนันนั้น มีอาการหรืออาการแสดงของการติดการพนันตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ American Psychiatric Association ดังนี้ (โดยได้จัดลำดับเป็นคำย่อ WAGER OFTEN เพื่อให้สะดวกในการจดจำได้ง่ายๆ)

  1. Withdrawal รู้สึกกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดง่ายเวลาพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน
  2. Affect significant relationship ความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญ โอกาสในด้านการงาน การเรียน หรืออาชีพเสียไปเพราะการพนัน
  3. Goal is to get even by chasing หลังจากเสียเงินพนันแล้ว ได้พยายามที่จะกลับไปเล่นเพื่อเอาเงินคืนบ่อยครั้ง
  4. Escape เล่นการพนันเพื่อหาทางออกจากปัญหา หรือมีความรู้สึกที่ดีขึ้นจากความรู้สึกไม่สบายใจ
  5. Rescue ต้องให้บุคคลอื่นหาเงินมาช่วยให้พ้นจากการเป็นหนี้พนัน
  6. Outside the laws ทำผิดกฎหมาย เช่น ปลอมแปลงเอกสาร ขโมยของ เพื่อให้ได้เงินมาใช้หนี้พนัน
  7. Failure to control พยายามที่จะควบคุม ลด หรือ หยุดการเล่นพนันแต่ทำไม่สำเร็จบ่อยครั้ง
  8. Tolerance พนันด้วยการเพิ่มปริมาณเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้คงความรู้สึกตื่นเต้นเช่นเดิมไว้
  9. Evades telling the truth โกหกครอบครัว แพทย์ผู้รักษา หรือ บุคคลอื่นเพื่อปกปิดการเล่นพนันของตนเอง
  10. Needs to think about gambling ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นพนันในอดีตของตนเอง ว่าเล่นได้หรือเสียอย่างไร รวมไปถึงการวางแผนล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรให้ชนะในคราวต่อไป หรือ คิดวิธีหาเงินเพื่อจะนำไปใช้ในการพนันครั้งต่อไป

การประเมินภาวะเสพติดพนัน

  • หากมีอาการข้างต้น 5 ข้อหรือมากกว่า แสดงว่าติดการพนัน
  • หากมี 3 หรือ 4 ข้อ จัดว่าเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการพนัน
  • หากมีเพียง 1 หรือ 2 ข้อ จะจัดเป็นผู้เล่นพนันที่มีความเสี่ยง

แม้ว่าการติดการพนันจะเป็นภาวะเรื้อรัง และมักจะกลับเป็นซ้ำได้บ่อยๆ แต่ก็เป็นภาวะที่สามารถรักษาได้ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) การให้คำปรึกษา (counseling) และอาจให้การรักษาด้วยยาคลายกังวล ยาต้านเศร้า ฯลฯ ร่วมด้วย ซึ่งการใช้ยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดจะให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด

ที่มา : กรมสุขภาพจิต
https://bit.ly/3AE2xrs


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท