Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อาการคนท้อง ระยะแรกเป็นอย่างไร


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

29-04-2023 10:55

อาการคนท้อง ระยะแรกใน 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เป็นอาการที่คุณแม่มือใหม่สังเกตเองได้ หากเริ่มมีอาการเพลีย ง่วงนอน อารมณ์แปรปรวน ควรติดตามประจำเดือนว่าจะมาหรือไม่

ภาพประกอบเคส

อาการคนท้อง ระยะแรกใน 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เป็นอาการที่คุณแม่มือใหม่สังเกตเองได้ หากเริ่มมีอาการเพลีย ง่วงนอน อารมณ์แปรปรวน ควรติดตามประจำเดือนว่าจะมาหรือไม่ พร้อมซื้อที่ตรวจครรภ์เตรียมไว้ โดยอาการคนท้องระยะแรก ประกอบด้วยอาการคัดเต้านม ปวดท้อง เมื่อยล้า ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน ไม่อยากอาหาร หรืออยากอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ ปวดหัว ฝันร้าย ฯลฯ ซึ่งอาจไม่เป็นเหมือนกันทุกคน

อาการของคนท้อง แบ่งตามระยะ ได้ดังนี้

1.อาการคนท้อง 3 วัน
เป็นระยะที่ยากเกินกว่าจะสังเกตว่าตัวเองตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ เพราะบางครั้งไข่เพิ่งตกยังไม่ได้รับการผสม ซึ่งอสุจิมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดได้ถึง 5 วัน ดังนั้นช่วงเวลาที่ชัดเจนที่สุดคือ 1 สัปดาห์ขึ้นไปหลังมีเพศสัมพันธ์ จึงจะสังเกตอาการท้องได้

อาการคนท้อง 3 วัน ที่คลุมเครือ คือความกังวลใจ เพราะมาจากการเฝ้าสังเกตตัวเองถี่ๆ จึงเกิดเป็นความเครียด บางคนเก็บไปฝันร้าย หรือฝันเป็นลางว่าได้แหวน ได้สร้อย จึงคิดว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ และหากเป็นช่วงใกล้มีประจำเดือน จะทำให้แยกยากระหว่างอาการคนท้อง กับ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS : Premenstrual Syndrome) มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่อาการคนท้องจะเป็นนานกว่าและต่อเนื่อง เช่น อาการคัดเต้านม, รู้สึกเหนื่อยล้า, ง่วงนอน เป็นต้น แต่อาการคนท้องจะเป็นยาวนานกว่า กินยาไม่หาย เพียงแค่บรรเทาลง

2.อาการคนท้อง 1 สัปดาห์

  • ตกขาวมากกว่าปกติ ในคนที่ไม่เคยมีตกขาว อาจพบตกขาวในช่วงนี้ และอาจมีเลือดล้างหน้าเด็กติดมากับกางเกงชั้นใน อาจใส่แผ่นอนามัยระหว่างวันเพื่อความสะดวกในการสังเกต เลือดล้างหน้าเด็ก คือ เลือดที่ออกทางประจำเดือน มีลักษณะเป็นจุด ไม่เยอะเท่าประจำเดือนในวันแรกๆ เป็นสัญญาณบอกว่าปฏิสนธิแล้ว
  • ง่วงนอน จะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารแต่ละมื้อ คล้ายกับการง่วงหลังรับประทานยาแก้แพ้ แม้ว่าจะดื่มกาแฟ หรือออกกำลังกายก็ยังมีอาการง่วงอยู่
  • เมื่อยล้า คนท้องระยะแรกมีอาการเมื่อยล้าคู่กับอาการง่วง อ่อนเพลีย บางคนเป็นตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์
  • ตัวรุมๆ แต่ไม่ได้เป็นไข้ อาจรู้สึกร้อนวูบทั้งตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว ลักษณะคล้ายคนเริ่มเป็นไข้ เป็นช่วงๆ เหมือนใส่เสื้อผ้าที่อบอ้าวเกินไป แต่เกิดจากร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเพียง 1-2 วันก็หายได้เอง
  • อารมณ์แปรปรวน ทั้งอารมณ์เสีย หงุดหงิด กังวล เศร้า อารมณ์ขึ้นลงเร็ว หากมีอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลต่อตัวเองและสุขภาพเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษา

3.อาการคนท้อง 2 สัปดาห์

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด เลือดล้างหน้าเด็กเกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังกับเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีเลือดออกมาเล็กน้อย สีคล้ำคล้ายช็อกโกแลต หากมีเลือดออกลักษณะนี้มาในช่วงที่ไม่ใช่ช่วงที่มีประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน
  • คัดเต้านม ผู้หญิงที่ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วจะรู้สึกจี๊ดที่บริเวณลานนม และคัดเต้านม ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์จะมีอาการตึงทั่วเต้านม อาการนี้สังเกตยาก บางคนเป็นช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ผู้หญิงบางคนเต้านมขยายเร็วมาก หากไม่เปลี่ยนไซส์บราจะรู้สึกอึดอัด
  • อยากอาหารมากกว่าปกติ หรือไม่อยากอาหาร บางคนเห็นอะไรก็ดูน่าอร่อยไปหมด หรือบางคนกลับกัน ไม่อยากกินอะไรเลย
  • น้ำหนักขึ้นหรือลง สำหรับหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากจะน้ำหนักขึ้นเพราะต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของทารก ช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์หากไม่แพ้ท้องก็จะกินอาหารได้เยอะ น้ำหนักขึ้นจนสังเกตได้

4.อาการคนท้อง 1 เดือน ถึง 3 เดือนแรก

  • จมูกไว แม้จะเป็นกลิ่นที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน แต่หากตั้งครรภ์แล้วก็จะรู้สึกเปลี่ยนไป เช่น กลิ่นน้ำหอมที่เคยใช้ กลิ่นสบู่ บางคนแพ้กลิ่นสามีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ For men
  • เวียนศีรษะ ช่วงนี้ว่าที่คุณแม่ลุกนั่งแล้วอาจจะหน้ามืดเร็วหน่อย เวียนศีรษะ ตาลาย เพราะเลือดกำลังไหลเวียนดี เพราะฉะนั้นจึงควรลุกนั่งเบาๆ ออกกำลังกายที่ไม่หักโหม
  • กระหายน้ำ ร่างกายของว่าที่คุณแม่ต้องการน้ำเพื่อไปเติมเต็มเซลล์ต่างๆ จึงจะรู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น บางคนอยากกินน้ำหวานๆ ตลอดเวลา ให้ระวังน้ำตาลขึ้นด้วย
  • ปวดปัสสาวะบ่อย อาการคนท้องที่ปวดปัสสาวะบ่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และการดื่มน้ำมากด้วย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และไม่ควรงดน้ำที่ดื่ม เพื่อให้ร่างกายได้สร้างสมดุลอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ท้องผูก ท้องอืด ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และมดลูกขยายตัวไปกดทับลำไส้ใหญ่ ทำให้คุณแม่มีลมในท้อง ปวดท้อง ย่อยยาก ช่วยบรรเทาได้ด้วยอาหารที่มีกากใยสูง และผลไม้ที่มีวิตามินซี บวกกับต้องดื่มน้ำมากๆ

ที่มา : thairath
https://bit.ly/3nbzhFg


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท