เทคโนโลยีช่วยการมีลูก
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
29-04-2023 10:34
“เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์” (AssistedReproductive Technology) ตัวช่วยสำคัญของคนอยากมีลูก แต่อาจมีปัญหาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นี้มีหลายวิธีแบ่งตามรูปแบบการปฏิสนธิ จะเลือกวิธีไหนขึ้นกับว่าคู่รักมีปัญหาด้านไหน แต่โดยหลักการผู้รับการผสมเทียมจะต้องนำไข่และอสุจิออกมานอกร่างกาย คือ ฝ่ายชายจะต้องเก็บน้ำอสุจิของตนเอง ส่วนฝ่ายหญิงจะต้องกินยาฮอร์โมนเร่งการตกไข่จากนั้นหมอจะเก็บไข่ที่สุกมาผสมกับอสุจิที่เตรียมไว้แล้ว
“เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์” (AssistedReproductive Technology) ตัวช่วยสำคัญของคนอยากมีลูก แต่อาจมีปัญหาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นี้มีหลายวิธีแบ่งตามรูปแบบการปฏิสนธิ จะเลือกวิธีไหนขึ้นกับว่าคู่รักมีปัญหาด้านไหน แต่โดยหลักการผู้รับการผสมเทียมจะต้องนำไข่และอสุจิออกมานอกร่างกาย คือ ฝ่ายชายจะต้องเก็บน้ำอสุจิของตนเอง ส่วนฝ่ายหญิงจะต้องกินยาฮอร์โมนเร่งการตกไข่จากนั้นหมอจะเก็บไข่ที่สุกมาผสมกับอสุจิที่เตรียมไว้แล้ว
“เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์” มีวิธีต่างๆ ได้แก่
- IUI (IntrauterineInsemination) หรือการฉีดน้ำเชื้อเข้ามดลูกโดยตรง วิธีนี้ไม่ต้องเก็บไข่ แต่คัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงฉีดเข้าสู่มดลูกโดยตรงในช่วงเวลาที่มีไข่ตก
- GIFT (Gamete Intrafallopian Transfer) หรือที่คนไทยคุ้นในชื่อ “การทำกิฟต์” วิธีนี้จะต้องเก็บไข่และคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงออกมาภายนอกร่างกายจากนั้นนำไปฉีดบริเวณท่อนำไข่ เพื่อให้ ไข่และอสุจิไปผสมกันภายในมดลูกปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะมีผลสำเร็จต่ำกว่าวิธี IVF
- IVF (In-vitro Fertilization) หรือที่เรียกกันว่าการทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีนี้จะนำไข่ที่สุกแล้วไปผสมกับอสุจิที่คัดเลือกแล้วในหลอดทดลองเพาะเลี้ยงไว้เป็นระยะเวลา 2-3 วันเพื่อดูการปฏิสนธิถ้าสำเร็จก็จะนำตัวอ่อนไปฉีดใส่มดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัว
- ICSI (IntracytoplasmicSperm Injection) หรือที่คนไทยเรียกว่าการทำอิ๊กซี่ คือการผสมเทียมแบบ IVF กรณีพิเศษในรายที่อสุจิของผู้ชายอ่อนแอมาก ๆ จนแทบไม่เคลื่อนไหว หมอจะนำเข็มขนาดเล็กพิเศษมาฉีดอสุจิ1 ตัว ไปที่ไข่โดยตรงเพื่อให้ปฏิสนธิ จากนั้นค่อยนำตัวอ่อนกลับไปใส่มดลูกอีกที
ในประเทศไทยการหาหมอเพื่อรักษาหรือใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้มีบุตรยากยังไม่อยู่ในสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ราว 50,000 – 100,000 บาท นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีช่วยตั้งครรภ์ ไม่ได้มีผลสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ บางคนอาจต้องทำหลายครั้ง ครอบครัวที่มีความพร้อมและต้องการมีลูกสามารถตรวจสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนตั้งครรภ์ได้เลย
ที่มา : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
https://bit.ly/3LzHjS1