อาการวิตกกังวลที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
15-03-2022 13:56
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลแบบปกติทั่วไป เป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต โดยเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลแบบปกติทั่วไป เป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต โดยเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรควิตกกังวล
สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ พันธุกรรม หรือพื้นฐานดั้งเดิม และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม การเลี้ยง
โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน
- โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) คือเกิดความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ การเรียน ซึ่งผู้ป่วยยังสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่หากผู้ป่วยยังรู้สึกวิตกแบบเดิมนานเกินกว่า 6 เดือน ไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด และนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท หากมีอาการลักษณะนี้ ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป
- โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก คือเกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ ตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือตาย มีอาการเจ็บป่วยนิดหน่อยก็กลับมีความกังวล อาการโรควิตกกังวลเกินเหตุ อาจเกิดเป็นพักๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบ แน่นหน้าอก วูบเหมือนจะเป็นลม อาการแบบนี้อาจทำให้เสียสุขภาพจิตและอาจนำไปสู่ภาวะอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ติดสารเสพติด เป็นต้น
- โรคกลัวสังคม (Social Phobia) คือความวิตกกังวลที่จะต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าต้องถูกจ้องมอง ทำอะไรที่น่าอาย ต้องคอยหลบ รู้สึกประหม่า และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว ที่น่าสนใจ คือโรคนี้มักแอบแฝงอยู่ในตัวบุคคลที่ดูเป็นปกติสุขดี มองดูภายนอกร่างกายก็สมบูรณ์แข็งแรงดี และไม่มีทีท่าว่าจะป่วยแต่อย่างใด
- โรคกลัวแบบเฉพาะ (Phobia) คือความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่องแบบเจาะจง เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวสุนัข เป็นต้น แม้ว่าจะรู้สึกกลัวไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมาหากอยู่ในสถานการณ์จำเพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจลำบาก เหงื่อออก
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ความวิตกกังวลที่เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ แม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก แต่ทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย
- โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD) คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากประสบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายมาก เช่น เผชิญกับภาวะเฉียดตาย ภาวะภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ร้ายแรง ถูกทำร้ายหรือเห็นคนใกล้ตัวตาย เป็นต้น อาการเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เงียบเฉย ขาดการตอบสนอง ตกใจง่าย หวาดกลัว กังวลในเรื่องเล็กน้อย คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ และเกิดความกลัว วิตกกังวลขึ้นมาใหม่เหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง รวมถึงหวาดกลัวสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ รักษาอย่างไรหากไม่อยากวิตกกังวล
ความวิตกกังวลส่งผลให้เจ้าตัวรู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ ตลอดจนเกิดความเครียดหลายๆ ครั้ง หากสังเกตตัวเองว่าเข้าข่าย 6 โรคนี้ สามารถพบจิตแพทย์เพื่อทำการพูดคุย สอบถามอาการ และประวัติความเจ็บป่วย พร้อมทั้งตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคว่าแท้จริงแล้วอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากร่างกายหรือจิตใจ หากมาจากจิตใจ แพทย์จะทำการพูดคุย พร้อมใช้เครื่องมือในการประเมินโรคทางจิต ก่อนวางแผนการรักษา ซึ่งการรักษาโรควิตกกังวลจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรค
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30145