Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ความเครียดจากการทำงาน เกิดขึ้นจากอะไร


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

29-04-2023 09:02

ความเครียดจากการทำงาน เกิดขึ้นจากอะไร

ภาพประกอบเคส

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด เกิดจากวิธีการทำงานบางรูปแบบ ดังนี้

  • กดดันตัวเอง
  • งานที่ออกมาต้องดีที่สุด
  • ทำงานทั้งวันทั้งคืน

วิธีการแก้ไขปัญหา คือ

  • แบ่งเวลาการทำงานให้ดี โดยการแบ่งเวลาในการทำงาน และเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม
  • จัดลำดับการทำงานให้เป็นสัดส่วน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และเป็นลำดับขั้นตอน และวางความคาดหวังให้สมดุลระหว่างเวลาและปริมาณงาน
  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เพื่อช่วยให้จัดการแก้ไขอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถนำไปแก้ไขปัญหาในเรื่องการทำงานได้อีกด้วย

ผลกระทบที่เกิดจากความเครียด

  • ด้านร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้เกิดปัญหาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อได้ง่าย
  • ด้านจิตใจและอารมณ์ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย หรือมีอาการซึมเศร้า โดยในจิตใจเต็มไปด้วยความวิตกกังวล หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย รวมไปถึงความรู้สึกขาดความภูมิใจในตนเอง ขาดสมาธิ
  • ด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย ไม่อยากทำอะไร ขาดความอดทน เบื่อง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม ไม่ดูแลตัวเอง บางคนอาจใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้อื่น โดยหากเกิดอาการเหล่านี้หลายคนจะใช้วิธีระบายความเครียดด้วยการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้ยานอนหลับ หรือใช้สารเสพติด ซึ่งส่งผลให้สุขภาพแย่ลงในระยะยาวได้ด้วยเช่นกัน

วิธีการรักษาอาการที่เกิดจากความเครียด

  1. ปรับเปลี่ยนความคิด ปล่อยวางในเรื่องที่ต้องเจอ ให้รู้ตัวว่าคิดว่าเรื่องอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจ จากนั้นให้กลับมามีสมาธิอยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าก่อน

  2. ดูแลรักษาสุขภาพ

  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที ทำให้ช่วยบรรเทาอาการเครียดสะสมได้
  4. หลีกเลี่ยงสารเสพติด การเสพสิ่งเสพติดในขณะที่เกิดความเครียด อาจจะช่วยบรรเทาได้ช่วงขณะหนึ่ง แต่ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น เหล้า บุหรี่ หรือสารเสพติดอื่น ๆ เช่น ยาบ้า กัญชา
  5. นอนหลับให้เพียงพอ เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการ ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเครียดและอารมณ์แจ่มใสขึ้น
  6. รับประทานอาหารมีประโยชน์ นอกจากจะช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเสริมให้สภาพจิตใจดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/41wQx6X


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท