วุ้นเส้นให้พลังงานน้อยกว่าเส้นชนิดอื่น จริงหรือ?
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
22-04-2023 17:52
หลายคนอยากมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้มีรูปร่างที่สมส่วน ทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานย่อมส่งผลให้สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคภัย อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก เพราะหากรับประทานอาหารมากเกินพอดี จะเกิดไขมันสะสมตามร่างกาย ส่งผลให้รูปร่างไม่สมส่วน และสุขภาพแย่ลง
หลายคนอยากมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้มีรูปร่างที่สมส่วน ทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานย่อมส่งผลให้สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคภัย อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก เพราะหากรับประทานอาหารมากเกินพอดี จะเกิดไขมันสะสมตามร่างกาย ส่งผลให้รูปร่างไม่สมส่วน และสุขภาพแย่ลง
เพื่อควบคุมน้ำหนักหลายคนพยายามสรรหาอาหารที่มีพลังงานต่ำ เน้นรับประทานพืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ทำให้เกิดคำถามว่าวุ้นเส้นให้พลังงานน้อยกว่าเส้นชนิดอื่น จริงหรือ?
คำตอบคือ จริง
ซึ่งหากคำนวณเปรียบเทียบจากน้ำหนักเส้นในลักษณะที่นำมาบริโภค และปริมาณที่รับประทานทั่วไป อาหารประเภทเส้นต่าง ๆ มีพลังงานโดยประมาณ ดังนี้
- ขนมจีนให้พลังงาน 106 กิโลแคลอรี
- วุ้นเส้นแช่น้ำ (จากเส้นแห้ง 47 กรัม) ให้พลังงาน 172 กิโลแคลอรี
- เส้นหมี่แช่น้ำ (จากเส้นแห้ง 47 กรัม) ให้พลังงาน 168 กิโลแคลอรี
- เส้นเล็กสดให้พลังงาน 220 กิโลแคลอรี
- บะหมี่เหลืองสดให้พลังงาน 298 กิโลแคลอรี
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าขนมจีน เส้นหมี่ขาว และวุ้นเส้นให้พลังงานน้อยกว่าอาหารประเภทเส้นชนิดอื่น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแนะนำให้เลือกรับประทานขนมจีน เส้นหมี่ขาว และวุ้นเส้น อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปสามารถเลือกรับประทานเส้นที่ชอบได้ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอกับความต้องการต่อวัน ดังนี้
- หญิงวัยทำงาน และผู้ที่อายุเกิน 60 ปี พลังงานที่ควรได้รับ 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน
- ชายวัยทำงาน และวัยรุ่น พลังงานที่ควรได้รับ 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน
โดยแนะนำให้รับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่นเพื่อให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้แล้วเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้สังเกตบรรจุภัณฑ์ต้องสมบูรณ์ไม่มีรูรั่วหรือฉีกขาด อ่านฉลาก และเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยสังเกตเครื่องหมาย อย. ก่อนซื้อทุกครั้ง
ที่มา : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
https://bit.ly/41g3q5g