เอาชนะการตื่นนอนกลางดึก ปัญหาสุขภาพที่ถูกมองข้าม
หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
22-04-2023 13:26
นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา หลังจากใช้ชีวิตมาทั้งวันแล้ว เราต่างต้องการล้มตัวลงบนที่นอนและล่องลอยไปสู่ดินแดนแห่งความฝัน แต่คนจำนวนหนึ่งกลับพบว่า ไม่สามารถนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนได้ ซึ่งถ้าหากเกิดเป็นประจำ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่าคาดคิด จึงที่ไม่ควรมองข้าม

นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา หลังจากใช้ชีวิตมาทั้งวันแล้ว เราต่างต้องการล้มตัวลงบนที่นอนและล่องลอยไปสู่ดินแดนแห่งความฝัน แต่คนจำนวนหนึ่งกลับพบว่า ไม่สามารถนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนได้ ซึ่งถ้าหากเกิดเป็นประจำ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่าคาดคิด จึงที่ไม่ควรมองข้าม
สาเหตุที่ทำให้ตื่นกลางดึก
คนทั่วไปอาจตื่นกลางดึกบ้างบางครั้งก่อนจะกลับไปหลับต่อได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าตื่นกลางดึกเป็นประจำ ทั้งยังยากที่จะกลับไปหลับได้ต่อ อาจมีสาเหตุมาจาก
- ความเครียดและซึมเศร้า: ความกังวลหรือความเครียดในชีวิตประจำวัน รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) โรคอารมณ์สองขั้ว ภาวะซึมเศร้า โรคจิตเภท ฯลฯ ล้วนมีผลต่อการนอน
- สุขภาพร่างกาย: อาการเจ็บป่วยไม่สบายตัว ทำให้ตื่นนอนกลางดึกได้ รวมไปถึงภาวะความผิดปรกติจากโรคนอนไม่หลับ ภาวะนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโรคขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) คนเป็นโรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต มีปัญหากระเพาะปัสสาวะ หรือภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา ทำให้ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมีส่วนทำให้เกิดปัญหาการนอน
- สิ่งแวดล้อม: สภาพแวดล้อมในห้องนอน เช่น อุณหภูมิ ระดับเสียง แสง และความชื้น สามารถส่งผลต่อการนอนหลับได้
- รูปแบบการใช้ชีวิต: การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ใกล้เวลานอนเกินไป ฯลฯ ทำให้คุณภาพการนอนหลับโดยรวมลดลงได้
นอกจากนี้ คนที่มีความหวาดกลัวในตอนกลางคืน สตรีมีครรภ์ที่ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยครั้ง คนชราหรือวัยหมดประจำเดือน อาจพบปัญหาตื่นนอนกลางดึกเช่นกัน
ตื่นกลางดึกส่งผลอย่างไร
การตื่นนอนกลางดึกมีผลทำให้ร่างกายไม่ได้รับพักผ่อนการนอนหลับอย่างเพียงพอและอย่างมีคุณภาพ หากเกิดขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลหลายด้าน
- สุขภาพทางกาย: มีผลต่อการทำงานไม่ปรกติของระบบร่างกาย เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
- สุขภาพทางจิต: การนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพเพียงพอ อาจทำให้มีอาการเหนื่อยล้าและเครียด เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวลได้
- ปัญหาการเรียนรู้: ปัญหาการนอนหลับส่งผลต่อการจดจำ การเรียนรู้ และการประสานงาน มีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจและความจดจ่อสนใจ
- ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ: หากนอนหลับไม่มีคุณภาพหรือเพียงพออาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุบนถนน หรืออันตรายในการทำงานเช่น คนทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น
- ความสัมพันธ์กับผู้อื่น: คนมีปัญหาเรื่องการนอนอาจทำให้อารมณ์เสีย มีความเครียดสะสม ขี้โมโห ความอดทนต่ำ โกรธง่าย มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจและการสื่อสาร ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ได้ เคล็ดลับหลับสบายตลอดทั้งคืน
**การแก้ไขตื่นนอนกลางดึกหรือนอนไม่หลับสามารถทำได้โดย **
- ปรับปรุงพฤติกรรมการนอนหลับ: กำหนดเวลาการนอนหลับ โดยจะต้องเข้านอนและตื่นขึ้นในเวลาเดียวกันทุกวัน
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม: ห้องนอนใช้เพื่อการนอนหลับเท่านั้น จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม ทั้งเรื่องอุณหภูมิ เสียง แสง การระบายอากาศ เป็นต้น
- ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย: ฝึกโยคะ การหายใจลึก ๆ หรือทำสมาธิช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล สามารถทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
-
หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่น ดังนี้
-
ก่อนนอนควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จำกัดเวลาหน้าจอ เพราะแสงจากโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือกระตุ้นให้ร่างกายไม่พร้อมจะนอนหลับ
- งดการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ใกล้เวลานอน รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลให้คุณภาพการนอนลดลง
- นอนเมื่อง่วงหรือเหนื่อย หากนอนไม่หลับให้ลุกมาทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ทำสมาธิ ฯลฯ สัก 15 นาที
- ควรออกกำลังกายระหว่างวันเพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ แต่อย่าทำใกล้เวลาเข้านอน ฯลฯ
อาจมีบางสถานการณ์ที่ส่งสัญญาณว่า การตื่นกลางดึกหรือนอนไม่หลับอาจเกี่ยวกับอาการของโรคร้ายแรง เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือโรคขาอยู่ไม่สุข ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3N41dW4