Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

HBT Bullying เรื่องล้อเล่นที่ไม่ควรเล่น


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

22-04-2023 10:38

แม้ว่าสังคมจะรณรงค์เรื่องผลกระทบจากการบูลลี่ (Bullying) หรือการกลั่นแกล้งผู้อื่น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การบูลลี่ก็ยังคงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่มักตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่บ่อยครั้ง

ภาพประกอบเคส

แม้ว่าสังคมจะรณรงค์เรื่องผลกระทบจากการบูลลี่ (Bullying) หรือการกลั่นแกล้งผู้อื่น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การบูลลี่ก็ยังคงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่มักตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่บ่อยครั้ง

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ LGBTQ+ มักตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ ก็คือ “ความแตกต่าง” เพราะแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะบอกว่าเราอยู่ในสังคมที่เคารพความแตกต่าง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การบูลลี่ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน

รู้จัก Homophobia, Biphobia และ Transphobia Homophobia, Biphobia และ Transphobia คือคำเรียกกลุ่มคนที่เกลียดกลัวหรือมีอคติกับผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากเกณฑ์ของสังคม ซึ่งความกลัว และอคติเหล่านี้เองที่อาจเป็นจุดกำเนิดของพฤติกรรมบูลลี่ที่ตามมา

โดยแบ่งลักษณะการถูกล้อเลียนกลั่นแกล้งที่มีต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศจากพฤติกรรมของผู้บูลลี่ ได้ 3 ลักษณะ คือ - Homophobia : คนที่กลัว ไม่ชอบ หรือมีอคติต่อผู้ที่รักเพศเดียวกัน เช่น เลสเบี้ยน หรือเกย์ - Biphobia : คนที่กลัว ไม่ชอบ หรือมีอคติต่อผู้ที่เป็นไบเซ็กชวล หรือคนที่รักได้ทั้งชายและหญิง - Transphobia : คนที่กลัว ไม่ชอบ หรือมีอคติต่อผู้ที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ หรือบุคคลที่มีเพศภาวะไม่สัมพันธ์กับเพศกำเนิดของตนเอง เช่น ผู้ชายที่รู้สึกว่าตนเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงที่รู้สึกว่าตนเป็นผู้ชาย

ซึ่งนอกจากความกลัวและอคติที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจหมายถึงการไม่ยอมรับตัวตน และการทำร้ายร่างกาย กลั่นแกล้ง-ล้อเลียนผู้ที่รักเพศเดียวกัน, ผู้ที่เป็นไบเซ็กชวล หรือผู้ที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ด้วย

พวกเขาจะมีอคติต่ออัตลักษณ์ทางเพศ เพศภาวะ หรือรสนิยมทางเพศของผู้อื่น ที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของสังคม นำไปสู่การ “ด้อยค่า” และทำให้ LGBTQ+ ต้องอับอาย ด้วยการล้อเลียน กลั่นแกล้ง ข่มขู่ จนเป็นที่มาของพฤติกรรม HBT Bullying นั่นเอง

HBT Bullying คืออะไร HBT คืออักษรย่อของ Homophobia, Biphobia และ Transphobia ที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น – ทั้งนี้การแยกว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นการบูลลี่หรือไม่ มีปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ - เกิดขึ้นโดยตั้งใจ - เกิดขึ้นซ้ำๆ บ่อยๆ - ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้ที่ถูกบูลลี่ - เกิดขึ้นได้ทั้งออนไลน์และต่อหน้า - เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คำพูด, ใช้การกระทำ เป็นต้น

แม้ว่าทุกคนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ได้ แต่ผู้ที่มีความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่มักมีโอกาสตกเป็นเหยื่อการบูลลี่มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหรือถูกมองว่าเป็น LGBTQ+ มักได้รับผลกระทบจากการรังแกมากกว่ากลุ่มอื่น

ข้อมูลจาก รายงานสรุปเกี่ยวกับการรังแกด้วยเหตุแห่งเพศภาวะและเพศวิถี ประเทศไทยเป็นมิตรต่อ LGBTQ+ จริงหรือ? โดย องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ร่วมกับ องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ไม่เคยถูกรังแกเลย เราจะพบว่า นักเรียนที่ถูกรังแกเพราะรักเพศเดียวกัน หรือมีบุคลิกข้ามเพศ จะได้รับผลกระทบสูงกว่า

การวิจัยพบว่า 23% ของ HBT Bullying มีภาวะซึมเศร้า ในขณะที่นักเรียนที่ไม่ถูกรังแกเลย มีภาวะดังกล่าวเพียงแค่ 6% และเกือบ 7% ของนักเรียนที่ถูกรังแกเพราะเพศสภาพ หรือ HBT Bullying เคยพยายามฆ่าตัวตายในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่คนที่ถูกรังแกด้วยเหตุผลอื่น มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ 3.6% และผู้ที่ไม่เคยถูกรังแกเลย มีอัตราดังกล่าวเพียง 1.2% เท่านั้น

มีการศึกษาที่พบว่า HBT Bullying ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล ลดความภาคภูมิใจในตนเอง เพิ่มโอกาสการใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ไปจนถึงทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย ผลกระทบที่เกิดจาก HBT Bullying ทำให้ LGBTQ+ เลือกที่จะปกปิดเพศภาวะและเพศวิถีของตนเอง ซึ่งยิ่งสร้างความอึดอัด กดดัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจในระยะยาว

ที่มา : Thairath Plus โดย สุภาวดี ไชยชะลอ https://bit.ly/3A3YLYf


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท