Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อันตรายของควันจากการเผาหญ้า ขยะ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-04-2023 12:16

ปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนไทยต้องพบเจออยู่ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน จนอาจทำให้หลายคนรู้สึกคุ้นเคยหรือเคยชินไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์และแม้กระทั่งประกาศห้ามไม่ให้มีการเผา แต่ไม่บ่อยเลยที่จะได้ยิน นักวิชาการออกมาบอกว่า ทำไมจึงต้องห้าม และอันตรายของการรับสัมผัสควันจากการเผานี้มีมากแค่ไหน

ภาพประกอบเคส

ปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนไทยต้องพบเจออยู่ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน จนอาจทำให้หลายคนรู้สึกคุ้นเคยหรือเคยชินไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์และแม้กระทั่งประกาศห้ามไม่ให้มีการเผา แต่ไม่บ่อยเลยที่จะได้ยิน นักวิชาการออกมาบอกว่า ทำไมจึงต้องห้าม และอันตรายของการรับสัมผัสควันจากการเผานี้มีมากแค่ไหน

ควันจากการเผาเศษฟืน เศษไม้ ใบหญ้า และเศษวัสดุทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น ใบอ้อย ฟาง และซังข้าวโพด จะมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายร้อยชนิด สารที่พบมากได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนมอนอคไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน รวมถึงสารก่อมะเร็ง อย่างสารเบนซีน ฟอร์มาดีไฮด์ และสารพีเอเอช

สารพิษในควันจากการเผามีความอันตรายไม่น้อยไปกว่าควันบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ยังผ่านกระบวนการที่ดีมาตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงการผลิตในโรงงาน ไม่เหมือนกับการเผาชีวมวลและเศษขยะ การรับสัมผัสควันจากการเผาชีวมวลจึงอาจสร้างผลกระทบต่อสุขภาพได้หลายอย่าง

โดยองค์การอนามัยโลก (2016) รายงานว่าในแต่ละปีควันพวกนี้ได้ทำคนเสียชีวิตไปประมาณ 4.3 ล้านคน จากโรคร้ายแรงหลายชนิด ได้แก่ โรคปอดอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคซีโอพีดี (COPD) โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในเด็ก โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรค COPD โรคต้อกระจก โรคมะเร็งปากมดลูก โรคหอบหืด โรคหัวใจ และวัณโรค นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการรับสัมผัสควันไฟยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ภาวะน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์

การเผาหญ้า เผาขยะ มีความผิดทั้งจำ ทั้งปรับ
การเผาหญ้า หรือเผาขยะ แม้จะเผาในที่ของตนเองก็ตาม แต่หากการกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามความในมาตรา 25

เจ้าพนักงานในท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้หยุดเผาได้ และเมื่อมีคำสั่งห้ามกรณีดังกล่าวได้ตามมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 28

ซึ่งหากยังคงมีการกระทำดังกล่าวหลังจากการที่เจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งห้ามแล้ว จะเป็นกรณีฝ่าฝืนตามมาตรา 28 ประกอบกับไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตร 28 ผู้ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

และการเผาดังกล่าวอาจเข้าข่ายคดีอาญาด้วย แม้เป็นการเผาทรัพย์ของตนเองก็ตาม หากเป็นอันตรายต่อผู้อื่นและทรัพย์ของผู้อื่น ตามมาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท

ที่มา :
1.กระทรวงยุติธรรม https://www.moj.go.th/view/70151
2.วารสารสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6142/336


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท