Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ออกกำลังกายเวลาไหนดีกว่ากัน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

15-03-2022 13:21

การออกกลังกายแต่ละช่วงเวลานั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป หลากหลายทฤษฎีถกเถียงกันเรื่องของเวลาการออกกำลังกาย ว่าช่วงเวลาไหนให้ผลดีมากกว่ากัน จะเป็นช่วง เช้า สาย บ่าย หรือเย็น ซึ่งโดยมากสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินและชี้วัด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาการออกกำลังกาย แต่อยู่ที่ความสม่ำเสมอของการปฏิบัติมากกว่า เพราะไม่ว่าช่วงเวลาไหน การออกกำลังกายก็มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกช่วงที่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ภาพประกอบเคส

การออกกลังกายแต่ละช่วงเวลานั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป หลากหลายทฤษฎีถกเถียงกันเรื่องของเวลาการออกกำลังกาย ว่าช่วงเวลาไหนให้ผลดีมากกว่ากัน จะเป็นช่วง เช้า สาย บ่าย หรือเย็น ซึ่งโดยมากสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินและชี้วัด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาการออกกำลังกาย แต่อยู่ที่ความสม่ำเสมอของการปฏิบัติมากกว่า เพราะไม่ว่าช่วงเวลาไหน การออกกำลังกายก็มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกช่วงที่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ข้อดีของการออกกำลังกายในตอนเช้า

  • สามารถกำหนดเวลาและทำให้เป็นกิจวัตรได้ง่ายกว่า
  • ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราเผาผลาญพลังงานในระหว่างวัน
  • การออกกำลังกายตอนเช้าจะช่วยให้คุมน้ำหนักได้ดีกว่า ด้วยเหตุผลในเรื่องของฮอร์โมนที่ร่างกายสร้าง ซึ่งจะสัมพันธ์กับ biological clock ในสมองในการสร้างฮอร์โมน
  • สร้างความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
  • ได้รับอากาศที่สดชื่น และได้รับมลพิษที่น้อยกว่า

ข้อดีการออกกำลังกายในตอนเย็นถึงค่ำ

  • มีผลการวิจัยหลายชิ้นทดสอบออกมาว่า ช่วงเวลาตั้งแต่ บ่าย 3 โมงจนถึง 3 ทุ่ม (15.00 น-21.00 น.) เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะกลุ่มเสริมสร้างและเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อ
  • เนื่องด้วยช่วงเวลาเย็นของวันจะเป็นช่วงที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูง และร่างกายอบอุ่นขึ้นกว่าช่วงเวลาเช้า จึงทำให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อยืดหยุ่นได้ดีกว่า และพร้อมกับการออกกำลังกายมากกว่า
  • เมื่อออกกำลังกายเสร็จจะทำให้เรารู้สึกสบายใจ เป็นเพราะร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินออกมา ทำให้เราสบายใจ คลายเครียด เป็นการสร้างสมดุลให้กับร่างกายที่จำเป็น

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา มีเวลาไม่แน่นอนและ ผู้เริ่มต้นการออกกำลังกาย

การกำหนดเวลาในการออกกำลังกาย ของคนที่มีเวลาไม่แน่นอนนั้น อาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของช่วงเวลามากนัก แต่ขอให้แบ่งเวลาที่สะดวกที่สุด - ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ โดยสามารถแบ่งเป็นหลายๆครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และหาเวลาออกกำลังกายในกลุ่มเวทเทรนนิ่ง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง - ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างน้อยวันละ 20-30 นาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ - พยามยามหาเวลาไปออกกำลังกายให้ได้ ขอให้เป็นช่วงเวลาที่ทำได้อย่างสม่ำเสมอ หรือหากไม่มีเวลาจริงๆ ลองใช้วิธีการสอดแทรกการออกกำลังกายเข้กับการใช้ชีวิตประจำวัน - งดการใช้ลิฟท์ในการขึ้นลงชั้นใกล้ๆ เปลี่ยนมาเป็นการขึ้นลงบันไดแทน

ที่มา : การกีฬาแห่งประเทศไทย
https://bit.ly/3uQrJJx


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท