Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ผลเสียของการใช้อำนาจกับเด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-04-2023 09:54

บ่อยครั้งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองอดไม่ได้ที่จะใช้อำนาจกับเด็ก เพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น บางครั้งก็ได้ผล แต่ถ้าสังเกตให้ดีและยาวนานพอ จะพบว่าผลนั้นอยู่ชั่วระยะเวลาสั้น ในที่สุดเด็กก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม และในหลายๆ ครั้ง กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เนื่องจากการใช้อำนาจในเด็กนั้นมีผลเสียแทรกซ้อนตามมามากมาย

ภาพประกอบเคส

บ่อยครั้งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองอดไม่ได้ที่จะใช้อำนาจกับเด็ก เพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น บางครั้งก็ได้ผล แต่ถ้าสังเกตให้ดีและยาวนานพอ จะพบว่าผลนั้นอยู่ชั่วระยะเวลาสั้น ในที่สุดเด็กก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม และในหลายๆ ครั้ง กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เนื่องจากการใช้อำนาจในเด็กนั้นมีผลเสียแทรกซ้อนตามมามากมาย

ผลเสียของการใช้อำนาจกับเด็ก

1.ก่อให้เกิดความกลัวโดยไม่จำเป็น
เด็กทุกคนมีแนวโน้มจะเกรงกลังต่อผู้ใหญ่อยู่แล้ว การแสดงอำนาจมากเกินไปหรือรุนแรงเกินไปจะทำให้เด็กเกิดความกลัวมากๆ และพยายามทำตัวดีๆ เพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่โกรธและใช้อำนาจเอา พ่อแม่ที่แสดงอำนาจมากๆ จะทำให้เด็กเสียขวัญ ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก จนกลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเอง

เด็กบางคนไม่กลัว แต่โกรธและเก็บกดความโกรธความก้าวร้าวไว้ในใจ เอาไปแสดงออกลับหลัง

“เด็กที่มีพื้นอารมณ์หวั่นไหวอยู่แล้วจะกลัวมาก กลัวจนลนลาน กลัวจนไม่กล้ามาโรงเรียน กลัวจนต้องโกหก กลัวจนต้องขโมย เพราะเวลาขอจะโดนดุ”

2.เด็กเลียนแบบการใช้อำนาจ
ผู้ใหญ่แสดงออกอย่างไร เด็กจะเรียนรู้และซึมซับเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้เมื่อเขาอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน หรือเหตุการณ์คล้ายๆ กัน ดังนั้น เมื่อผู้ใหญ่ใช้อำนาจไม่มีเหตุผล ก้าวร้าวรุนแรงกับเด็ก ก็เท่ากับเป็นการสอนให้เด็กไม่มีเหตุผล ใช้ความรุนแรง ใช้อำนาจที่เหนือกว่าบังคับคนอื่นที่อ่อนด้อยกว่าตนเอง จนกลายเป็นทัศนคติความเชื่อเลยว่า การใช้อำนาจเท่านั้น คือคำตอบของการแก้ไขปัญหา

3.เด็กมีพัฒนาการบกพร่อง
ผู้ใหญ่ที่ใช้อำนาจกับเด็กบ่อยๆ จะทำให้เด็กกลายเป็นคนที่มีความผิดปกติในบุคลิกภาพ ดังนี้ - เป็นคนขี้กลัว ขี้วิตกกังวล - เป็นคนไม่มีเหตุผล ทำอะไรตามอารมณ์ - ก้าวร้าว รุนแรง ตัดสินใจด้วยกำลังมากกว่าความคิด - สมยอมง่าย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าเปิดเผย - ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ไม่รู้จักประนีประนอม ไม่ปรับตัวเข้ากับคนอื่น - ขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

พัฒนาการที่บกพร่องนี้จะกลายเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ขาดความสุขในชีวิต และมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้มากกว่าเด็กปกติ

สถานการณ์ใดที่ควรใช้อำนาจกับเด็ก
พ่อแม่ควรใช้อำนาจของตนในการกำหนดขอบเขตเพื่อให้เด็กปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อคนอื่น หรือเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือส่วนรวมและเสริมพัฒนาการทางด้านดี แต่ก็ไม่ควรใช่ความก้าวร้าวรุนแรง ควรใช้ความหนักแน่น เอาจริง อย่างสงบ

เมื่อเด็กโตขึ้น กฎเกณฑ์และกติกา ซึ่งเป็นขอบเขตจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่าลืมว่าข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปอาจเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ด้วย

พ่อแม่ควรเลือกใช้อำนาจกับเรื่องที่รุนแรงจริงๆ เท่านั้น เหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่น่ากลัวควรหาวิธีการแบบนั้น ที่ไม่น่ากลัวควรหาวิธีการแก้ไขแบบอื่น เช่น การจูงใจ แนะนำมากกว่าการใช้อำนาจ

ที่มา : มูลินิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
https://bit.ly/3nUmAPc


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท