Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคที่มากับแอร์สกปรก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

26-03-2023 14:32

ในช่วงที่มีอากาศร้อน ส่วนมากจะเปิดแอร์เพื่อคลายความร้อนตลอดทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า แต่หากแอร์สกปรกหรือไม่ล้างแอร์เป็นเวลานาน ความชื้นจากตัวแอร์และท่อน้ำทิ้ง จะเป็นตัวก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

ภาพประกอบเคส

ในช่วงที่มีอากาศร้อน ส่วนมากจะเปิดแอร์เพื่อคลายความร้อนตลอดทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า แต่หากแอร์สกปรกหรือไม่ล้างแอร์เป็นเวลานาน ความชื้นจากตัวแอร์และท่อน้ำทิ้ง จะเป็นตัวก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา หากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

ลักษณะอาการที่พบมี 2 แบบ คือ
1) โรคลิเจียนแนร์ (LEGIONELLOSIS) มีอาการปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น
2) ไข้ปอนเตียก (PONTIAC FEVER) มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ สามารถหายเองได้
อาการทั่วไป เช่น เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไข้สูง ไอ อาเจียน ท้องร่วง
อาการรุนแรง เช่น หายใจไม่เต็มปอด หายใจล้มเหลว ปอดอักเสบ ปอดบวม และเสียชีวิตในที่สุด

วิธีป้องกัน

  • ควรล้างทำความสะอาดแอร์เป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน - หากเป็นแอร์ตามบ้านควรล้างแผ่นกรองอากาศด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยใช้น้ำฉีดแรง ๆ ที่ด้านหลัง และด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้ง
  • ควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากใช้เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาดประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์ และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับการล้างแอร์แบบระบบรวม ควรเปิดน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้งเมื่อไม่ได้ใช้ทำความสะอาดขัดถูคราบไคลตะกอนเติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดหอหล่อเย็นอย่างน้อย 1 – 2 ครั้งต่อเดือน ไม่ให้มีตะไคร่เกาะ ทำลายเชื้อโดยใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้น 10 ppm เข้าท่อที่ไปหอผึ่งเย็นให้ทั่วถึงทั้งระบบไม่น้อยกว่า 3 – 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นรักษาระดับคลอรีนให้ความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 0.2 ppm และสำหรับแอร์ในห้องพักต้องทำความสะอาด ถาดรองน้ำที่หยดจากท่อคอยส์เย็นทุก 1 – 2 สัปดาห์ ไม่ให้มีตะไคร่เกาะหรือใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ที่มา : กรมอนามัย
https://bit.ly/3z5c9dW


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท