Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

26-03-2023 14:09

คุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานหลังคลอด ต้องมีการเตรียมตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และวางแผนว่าจะให้นมแม่เมื่อต้องกลับไปทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูก ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะช่วยให้แม่ลูกได้ใกล้ชิดกันแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีอีกด้วย

ภาพประกอบเคส

คุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานหลังคลอด ต้องมีการเตรียมตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และวางแผนว่าจะให้นมแม่เมื่อต้องกลับไปทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูก ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะช่วยให้แม่ลูกได้ใกล้ชิดกันแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีอีกด้วย

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง
เพื่อเป็นการรักษาน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ มีวิธีการเก็บที่ถูกต้อง คือ

  • เมื่อบีบน้ำนมเสร็จ เก็บน้ำนมแบ่งบรรจุในภาชนะที่ลูกกินหมดพอดีสำหรับ 1 มื้อ (ภาชนะที่ใช้ในการเก็บน้ำนม ได้แก่ ขวดนมที่สะอาด ผ่านการต้มหรือนึ่งในน้ำเดือด 10-15 นาที หรือถุงเก็บน้ำนมแม่)
  • ปิดภาชนะให้มิดชิดทันที และเขียนวัน เวลาที่เก็บกำกับไว้ด้วย
  • ถ้ามีน้ำนมจำนวนมากให้เก็บสำรองไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น

วิธีการเก็บรักษา

  1. เก็บที่อุณหภูมิห้อง (สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 1 ชั่วโมง
  2. เก็บที่อุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 4 ชั่วโมง
  3. เก็บในกระติกน้ำแข็ง (ที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา) เก็บได้นาน 1 วัน
  4. เก็บที่ตู้เย็นในช่องธรรมชั้นบนสุด (อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 1-3 วัน
  5. เก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (ตู้เย็นแบบ 1 ประตู) เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  6. เก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (ตู้เย็นแบบ 2 ประตู) เก็บได้นาน 3 เดือน

การนำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้

  • นมที่เก็บในช่องแช่เย็นธรรมดา ให้นำมาวางไว้นอกตู้เย็นเพื่อให้หายเย็น หากรีบสามารถอุ่นโดยใช้น้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำร้อนจัด และห้ามต้มหรือเข้าไมโครเวฟเพราะจะทำให้ภูมิต้านทานในนมแม่สูญเสียไป
  • กรณีที่จะนำนมเก่ามาใช้ ให้ย้ายน้ำนมจากช่องแช่แข็งลงมาที่ตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืน ให้ละลาย จากนั้นนำนมไปอุ่นใช้ตามปกติ
  • นมที่ใช้ไม่หมดภายใน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไม่ต้องเก็บไว้ใช้ต่อ
  • นมที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก
  • นมที่นำมาอุ่นแล้ว ห้ามนำไปแช่เย็นเพื่อเก็บไว้ใช้ใหม่

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3lxbrTS


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท