5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกสามีทำร้าย
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
19-03-2023 08:56
ผู้หญิงในทศวรรษที่ 21 นี้ มีศักยภาพในด้านการทำงานและดูแลตัวเองได้อย่างสบายๆ แต่ต่อให้ทำงานเก่งแค่ไหน ผู้หญิง ก็มีความแข็งแรงทางด้านร่างกายไม่เทียบเท่ากับผู้ชายแน่นอน พิสูจน์ได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่เห็นผู้หญิงต้องถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน หรือขมขู่ให้เกิดความอับอายอยู่บ่อยๆ สิ่งเหล่านี้เองที่สะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงในสังคมไทยตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอยู่ตลอดเวลา

ผู้หญิงในทศวรรษที่ 21 นี้ มีศักยภาพในด้านการทำงานและดูแลตัวเองได้อย่างสบายๆ แต่ต่อให้ทำงานเก่งแค่ไหน ผู้หญิง ก็มีความแข็งแรงทางด้านร่างกายไม่เทียบเท่ากับผู้ชายแน่นอน พิสูจน์ได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่เห็นผู้หญิงต้องถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน หรือขมขู่ให้เกิดความอับอายอยู่บ่อยๆ สิ่งเหล่านี้เองที่สะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงในสังคมไทยตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอยู่ตลอดเวลา
ปัญหาความรุนแรงที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ส่วนมากไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยา เนื่องจากขาดที่พึ่งที่ปลอดภัย ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความรุนแรง สิ่งที่ผู้หญิงควรทำเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกสามีทำร้าย ได้แก่
- ถ้าสามีโกรธ เมา อย่าอยู่ใกล้ อย่าโต้เถียง
- ถ้าสามีพูดด้วยให้ตอบสั้นๆ อย่าต่อปากต่อคำ อย่าแสดงความโกรธ อย่าแสดงความหวาดกลัว
- ถ้าสามีเริ่มก้าวร้าว ให้บอกกับสามีด้วยท่าทีที่อ่อนโยนว่า “ถ้าเราพูดกันในขณะที่โกรธกันคงไม่รู้เรื่อง เอาไว้หายโกรธกันคงจะไม่รู้เรื่องเอาไว้หายโกรธแล้วค่อยมาคุยกันใหม่นะ”
- ถ้าสามีเริ่มทำร้าย ให้รีบหนีไปตั้งหลัก ในที่ที่มีคนอยู่ อย่าโต้ตอบ ยึดถือหลักน้ำน้อยต้องแพ้ไฟ อย่าอายที่จะร้องขอความช่วยเหลือ เช่น เพื่อนบ้าน ที่สามีเกรงใจ หรือโทรถึงตำรวจเบอร์ 191 โดยทันที
- เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วต้องยืนยันกับสามีว่าจะใช้คำพูหยาบคาย หรือวิธีทุบตีทำร้ายไม่ได้
- เก็บซ่อนอาวุธไว้ให้มิดชิด หรือไม่ต้องเก็บไว้ที่บ้านเลย
- ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน และกล้าขอความช่วยเหลือ โดยไม่อาย
วิธีระงับความโกรธของผู้หญิง
- คุณมีสิทธิ์โกรธได้ แต่ต้องระบายอย่างถูกวิธี เช่น เลี่ยงไปที่อื่นจนอารมณ์ผ่อนคลายลง ระบายความโกรธด้วยการเขียนลงบนสมุด หรือพูดคุยให้เพื่อนสนิทฟัง แต่ถ้าคุณไม่ไว้ใจใคร ก็สามารถโทรศัพท์ขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์นารีรักษ์ 02-2011103
- พยายามท่องไว้ในใจเสมอว่า อย่าโต้ตอบด้วยการใช้ความรุนแรง เพราะนอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยิ่งจะสร้างปัญหาให้หนักขึ้น
- การทำร้ายร่างกายผู้อื่นผิดกฎหมาย อาจต้องโทษจำคุก แล้ว ลูก พ่อ แม่ จะอยู่กับใคร
- แจ้งความให้กฎหมายลงโทษ
วงจรความรุนแรงที่ทำให้การทะเลาะเบาะแว้งกลับมาเกิดได้อีก
ระยะที่ 1 เกิดจากความตึงเครียด สามีไม่พอใจจากสถานการณ์ต่างๆ ระยะที่ 2 ใช้ความรุนแรง สามีด่าว่า หรือทุบตี ระยะที่ 3 สามีมาขอโทษ แก้ตัว สัญญาว่าจะไม่ทำอีก เอาอกเอาใจ ซื้อของให้ ทำให้ภรรยาหายโกรธ
ผู้หญิงหลายคนถูกกระทำความรุนแรงบ่อยครั้ง จนรู้สึกอับอาย บางคนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้มีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆ
- ไม่อยู่คนเดียว
- คิดถึงความรู้สึกของคนที่รักเราและเราก็รักเขา เช่น ลูก พ่อ แม่
- ระบายความทุกข์กับเพื่อน
- คิดถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางศาสนา เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร
- คิดอยู่เสมอว่าทำร้ายตนเองเป็นคนที่บาปหนัก
- ให้กำลังใจตนเองอยู่เสมอ
- โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ
- พบแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือและปกปิดความลับของคุณได้
เมื่อสุดท้ายแล้วเราต้องเลิกลากับสามี จะต้องทำอย่างไรต่อไป
สิ่งแรก คือ ตั้งสติให้ดี ต้องสร้างความสุขทางใจของตน และลูกให้ได้ ถ้าไม่มีงานทำไม่มีที่อยู่ให้โทรศัพท์ไปที่แผนสังคมสงเคราะห์ ศูนย์นารีรักษ์ 02-2011103 02-2011167 ซึ่งจะประสานหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือต่อไป
มีการกระทำรุนแรงกับผู้หญิงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือแม้แต่ทางเพศ ดังนั้นสิ่งที่ผู้หญิงควรรู้ในเรื่องสิทธิ จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการแก้ปัญหา และเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น พร้อมสร้างทางเลือกในการจัดการกับตนเองได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ผู้ชายหรือสามีต้องเคารพในสิทธิความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีสิทธิทำร้ายกัน
ที่มา : ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=4255