Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตาปลาปัญหากวนใจ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

19-03-2023 08:49

ตาปลา ถือเป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยสาเหตุการเกิดตาปลานั้นส่วนมากมักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณผิวหนังติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เนื้อเยื่อชั้นบนเกิดความหนาและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มคล้ายกับตาของปลา

ภาพประกอบเคส

ตาปลา ถือเป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยสาเหตุการเกิดตาปลานั้นส่วนมากมักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณผิวหนังติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เนื้อเยื่อชั้นบนเกิดความหนาและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มคล้ายกับตาของปลา

ตาปลามีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ตาปลาชนิดตุ่มเล็กและมีแกนตรงกลาง (hard corn) เกิดจากการกด โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก จึงมักพบบริเวณฝ่าเท้า พบได้ในทุกช่วงวัย 2. ตาปลาแบบผิวด้าน (callus) เกิดจากการเสียดสี มักพบในนักกีฬาและผู้สูงอายุที่เท้าเริ่มมีการผิดรูป ทำให้เกิดการเสียดสีบางจุดมากกว่าปกติ จึงเกิดได้หลายตำแหน่งของเท้า

อาการของตาปลานั้น สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือหากมีตุ่มขึ้นบริเวณเท้าหรือฝ่ามือที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง เมื่อกดดูแล้วมีความรู้สึกเจ็บจี๊ด ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามีความเสี่ยงในการเป็นตาปลาอย่างแน่นอนผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีก้อนกรวด ติดอยู่ตลอดเวลาจึงรู้สึกเจ็บเมื่อเดินทั้งเวลาสวมรองเท้า หรือแม้เดินด้วยเท้าเปล่าอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิตได้

การรักษา
1. ทายาเพื่อช่วยลอกผิวหนังกำพร้า
2. การผ่านผิวหนังที่หนาออก ซึ่งเป็นหัตถการที่ควรทำโดยแพทย์
3. เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับ หลวม หรือ แข็ง จนเกินไป

ที่มา :
1.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย https://bit.ly/401gCdI
2.mgronline https://mgronline.com/infographic/detail/9600000121519


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท