Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ชีวิตดีขึ้นหลังจัดโต๊ะทำงาน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

15-03-2022 11:56

เคยสงสับหรือไม่ว่าทำไมนั่งอยู่บนโต๊ะทำงานดีๆ แต่รู้สึกปวด เมื่อย ร้าว ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือความไม่สมดุลระหว่าง สัดส่วนร่างกายของเรากับโต๊ะและเก้าอี้

ภาพประกอบเคส

เคยสงสับหรือไม่ว่าทำไมนั่งอยู่บนโต๊ะทำงานดีๆ แต่รู้สึกปวด เมื่อย ร้าว ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือความไม่สมดุลระหว่าง สัดส่วนร่างกายของเรากับโต๊ะและเก้าอี้ เช่น 1.คนที่ช่วงตัวสูง ตำแหน่งของโต๊ะอาจจะอยู่ต่ำเกินไป เขาจึงต้องโค้งค่อมตัวมาเขียนหนังสือ ร่วมกับห่อไหล่ตามลักษณะงานการทำงาน ทำให้ปวดหลังและบ่าได้ 2. คนที่ช่วงตัวปกติ โดยมากมักจะนั่งได้ตำแหน่งพอดีกับโต๊ะ ไม่สูงหรือต่ำไป แต่อาจจะมีไหล่ห่องุ้มมาได้บ้าง 3. คนที่ตัวสั้น ตำแหน่งของโต๊ะอาจจะอยู่สูงจนเกินไป ต้องวางแขนสูงเพื่อเขียนหนังสือหรือพิมพ์คอมพิวเตอร์, โน้ตบุค ต้องอยู่ในท่ายกบ่าตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการปวดบ่าและข้อไหล่ได้

ถึงเวลาแล้วที่เราต้อง ปรับ และ เปลี่ยน โต๊ะทำงานด้วย 2 วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เราใช้ชีวิตบนโต๊ะและเก้าอี้ได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  1. ปรับตัวเราให้เหมาะกับโต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ทำงาน
  2. จัดร่างกายในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยให้ศีรษะ และหลัง อยู่ในแนวเดียวกัน และอยู่กึ่งกลางระหว่างไหล่ สะโพก และช่วงขา
  3. สังเกตดูว่าเราอยู่ในท่านั่งที่ดีหรือไม่ โดยท่านั่งที่ดี คือ มือควรวางพอดีที่วางแขน หลังแนบชิดติดพนักพิง เท้าวางติดชิดพื้น
  4. ปรับโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงาน ให้เหมาะกับเรา
  5. จัดลำดับความสำคัญในการวางอุปกรณ์บนโต๊ะ โดยของใช้ประจำควรวางไว้ใกล้ตัวทางด้านหน้าเช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเขียน เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบจับ ส่วนของใช้ไม่ประจำวางไว้ด้านข้างซ้ายบ้างขวาบ้าง และพยายามหมั่นสลับตำแหน่งเพื่อให้ร่างกายไม่ทำงานหนักข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
  6. ปรับระดับเก้าอี๊ ให้เหมาะกับตัวเราและตำแหน่งโต๊ะ โดยปรับที่วางแขนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แขนวางอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับโต๊ะทำงาน ปรับเบาะรองนั่งอยู่ในระดับที่เหมาะสม ปรับพนักพิงให้เหมาะกับสรีระ เมื่อนั่งแล้วพนักพิงแนบชิดติดได้ทั้งแผ่นหลัง ปรับที่รองคอให้อยู่ในระดับที่ประคองกระดูกต้นคอให้ตรง ไม่หมุนมากจนทำให้อยู่ในท่าก้มหรือเงยคอขึ้น

เพียงเท่านี้ จะช่วยให้เราห่างไกลจากอาการปวดเมื่อย ออฟฟิศซินโดรมได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ควรลุกขึ้นยืน เดิน ขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถ อย่างน้อย 5-10 นาทีทุกๆ 50 นาที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำงานได้แล้ว

ที่มา : เครือข่ายคนไทยไร้พุง
https://bit.ly/3LxAIVS


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท