Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ดข้าวสุก โรคติดเชื้อไวรัสทางผิวหนัง


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

19-03-2023 08:22

โรคหูดข้าวสุก หรือ Molluscum Contagiosum คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus ผ่านการสัมผัสผู้ที่มีเชื้อ พบได้ในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ทารก วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ภาพประกอบเคส

โรคหูดข้าวสุก หรือ Molluscum Contagiosum คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus ผ่านการสัมผัสผู้ที่มีเชื้อ พบได้ในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ทารก วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

อาการของโรค
มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ รวมถึงมักพบในวัยเจริญพันธุ์จากการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการป่วยผิดปกติจากภายในร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หรือครั่นเนื้อครั่นตัว เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ไม่มีการเข้าสู่กระแสเลือดหรือประสาทเหมือนกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

โดยเชื้อจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 6 เดือน ก่อนที่ร่างกายผู้ป่วยจะมีอาการที่ชัดเจน คือ พบรอยโรคหูดข้าวสุกที่มีลักษณะ เป็นตุ่มเล็ก สีแดง มีความเรียบเงา รูปทรงโดม คล้ายกับเม็ดสิวที่ไม่อักเสบ บางรายแผลอาจมีรอยบุ๋มตรงกลาง เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังชั้นนอก เช่น ใบหน้า แขน ลำตัว หรือบริเวณอวัยวะเพศ มีขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ซึ่งหากผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว รอยโรคหูดข้าวสารอาจมีขนาดใหญ่ถึง 15 มิลลิเมตร

สาเหตุของโรคหูดข้าวสุก
โรคหูดข้าวสุกเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae ที่มีชื่อว่าเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นและอบอุ่น รวมถึงในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีโอกาสเกิดโรคหูดข้าวสุกได้มากกว่า ซึ่งจะเกิดรอยโรคเฉพาะบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น โดยการติดเชื้อโรคหูดข้าวสุกมีสาเหตุมาจากการสัมผัสเชื้อไวรัสจากผู้ที่เป็นโรค ผ่านการสัมผัสหรือใช้สิ่งของที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส และการติดเชื้อเมื่อมีเพศสัมพันธ์

วิธีการรักษาโรคหูดข้าวสุก
ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยโรคหูดข้าวสุกมักหายได้เองภายใน 6-12 เดือน ซึ่งการรักษาผู้ป่วยมีหลายวิธีโดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายมากที่สุด อาจใช้เพียงวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น

  • การใช้ยาแต้มบริเวณตุ่มหูดข้าวสุก ที่มีส่วนผสมของกรด Salicylic Acid , Potassium Hydroxide , Benzoyl Peroxide , Hydrogen Peroxide
  • การรักษาหูดข้าวสุกด้วยยาชนิดรับประทาน เช่น Cimetidine
  • การใช้ยาแต้มบริเวณตุ่มหูดข้าวสุกชนิดเจลหรือครีม ที่มีส่วนผสมของ Retinoids
  • การจี้หูดข้าวสุกด้วยความเย็น (Cryotherapy / Cryosurgery)
  • การรักษาหูดข้าวสุกด้วยเลเซอร์ (Pulsed Dye Laser Therapy)
  • การรักษาหูดข้าวสุกด้วยการขูดเนื้อเยื่อ
  • การรักษาหูดข้าวสุกด้วยกับการฉีดสารกระตุ้นภูมิ ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอการรักษา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหูดข้าวสุก
ผู้ที่เป็นโรคหูดข้าวสุกอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นบริเวณโดยรอบรอยตุ่มหรือผิวหนัง เช่น

  • อาการอักเสบที่เกิดจากการตุ่มหูดติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนโดยการเกา การแกะ การบีบ ทำให้เสี่ยงติดเชื้ออื่นๆได้ง่ายขึ้น
  • หากมีรอยโรคบริเวณเปลือกตา อาจส่งผลให้เกิดเยื่อตาอักเสบ
  • ผู้ป่วยโรคหูดข้าวสุกที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง อาจเกิดผื่นแดงมีอาการคันร่วมด้วย

การป้องกันโรคหูดข้าวสุก
การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อคือวิธีการป้องกันโรคหูดข้าวสุกได้ดีที่สุด ควบคู่ไปกับการหมั่นดูแลสุขอนามัยของร่างกายอย่างถูกวิธี ดังนั้นควรป้องกันด้วยวิธีการดังนี้

  • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังหรือรอยโรคของผู้ที่เป็นโรคหูดข้าวสุก
  • หมั่นล้างมืออย่างสม่ำเสมอหลังจากหยิบจับอุปกรณ์หรือของใช้ส่วนรวม
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลหรือตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ตรวจสุขภาพและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ที่มา : มูลนิธิเพื่อรัก
https://lovefoundation.or.th/warts/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท