Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สิทธิต้องรู้ เมื่อมนุษย์เงินเดือน จะมีลูก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

14-03-2023 09:46

ผู้หญิงในโลกการทำงาน เมื่อได้สถานะเป็น “ว่าที่คุณแม่” หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ต้องรู้คือ สิทธิที่กฎหมายให้ความคุ้มครองว่ามีอะไรบ้าง เพราะเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ นอกจากแจ้งข่าวดีกับทางครอบครัวแล้ว ต้องแจ้งให้ที่ทำงานรู้ด้วยจะได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือตำแหน่งหน้าที่ให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะถ้าทำงานไปเครียดไป อาจจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจของลูกไม่มากก็น้อย ยิ่งคุณแม่เครียดมาก ๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการไหลเวียนของโลหิต จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงมดลูกไม่พอส่งผลให้ตัวอ่อนในครรภ์ไม่สามารถพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม

ภาพประกอบเคส

ผู้หญิงในโลกการทำงาน เมื่อได้สถานะเป็น “ว่าที่คุณแม่” หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ต้องรู้คือ สิทธิที่กฎหมายให้ความคุ้มครองว่ามีอะไรบ้าง เพราะเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ นอกจากแจ้งข่าวดีกับทางครอบครัวแล้ว ต้องแจ้งให้ที่ทำงานรู้ด้วยจะได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือตำแหน่งหน้าที่ให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะถ้าทำงานไปเครียดไป อาจจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจของลูกไม่มากก็น้อย ยิ่งคุณแม่เครียดมาก ๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการไหลเวียนของโลหิต จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงมดลูกไม่พอส่งผลให้ตัวอ่อนในครรภ์ไม่สามารถพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม

สิทธิการทำงาน ท้องต้องรู้ ว่าที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่จะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครอง ได้แก่

  • ห้ามนายจ้างให้พนักงานตั้งครรภ์ทำงานในเวลา 22.00 – 06.00 น. ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ ธุรการ การเงิน หรือบัญชี ให้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน
  • ห้ามสั่งทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด
  • ห้ามทำงานเหล่านี้ เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ งานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ เป็นต้น
  • ไม่ทำงานที่ต้องยก แบก หาม ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม รวมทั้งงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ บิดเอี้ยวลำตัว สัมผัสสารเคมี สัมผัสเสียงดัง งานที่ทำในเรือ
  • พนักงานมีครรภ์ มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง (ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ) มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้
  • นายจ้างไม่มีสิทธิให้พนักงานหญิงลาออกจากงานเพราะตั้งครรภ์

สิทธิการลาคลอด และทำหมัน
เวลาผ่านไปจนใกล้จะได้เจอกับเจ้าตัวน้อยแล้ว คุณผู้หญิงเตรียมตัวหยุดยาว ๆ ได้เลย เพราะจะได้สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอด รวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดได้ ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยบริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ที่ลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน

เมื่อคลอดแล้ว ถ้าต้องการจะทำหมันก็มีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรองโดยได้รับค่าจ้าง

หลังคลอดกลับมา ถ้าหากคุณแม่ไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ก็มีสิทธิขอให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ โดยมีใบรับรองแพทย์มายืนยันด้วย

ที่มา : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.
https://bit.ly/3TbBJY3


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท