Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรให้เด็กๆ ปลอดภัยในช่วงปิดเทอม


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

14-03-2023 09:42

ช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม บางครอบครัวมีผู้ใหญ่ดูแลเด็ก ในขณะที่บางครอบครัวไม่มีคนดูแล ดังนั้นเราจะทำอย่างไรที่จะให้เด็กๆ ปลอดภัยในช่วงปิดเทอม

ภาพประกอบเคส

ช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม บางครอบครัวมีผู้ใหญ่ดูแลเด็ก ในขณะที่บางครอบครัวไม่มีคนดูแล ดังนั้นเราจะทำอย่างไรที่จะให้เด็กๆ ปลอดภัยในช่วงปิดเทอม

ข้อควรคำนึงสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแลเด็ก

  1. เด็กวัย 3 ปี - ไม่เกิน 6 ปี : ผู้ดูแลควรดูแลให้เด็กอยู่ในสายตาตลอดเวลา ไม่ควรปล่อยเด็กไว้ตามลำพังโดยเด็ดขาด เพราะเด็กยังไม่สามารถปกป้องตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ได้ หากผู้ปกครองไม่สามารถดูแลเด็กได้ ต้องหาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้มาช่วยดูแลเด็ก
  2. เด็กวัย 6 ปี - ไม่เกิน 9 ปี : ผู้ดูแลควรให้เด็กอยู่ในพื้นที่ที่สามารถได้ยินเสียงได้ตลอดเวลา เพราะเด็กวัยนี้ ยังไม่สามารถป้องกันตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ยังต้องการการดูแลจากผู้ใหญ่
  3. เด็กวัย 9 ปี- ไม่เกิน 12 ปี : เด็กต้องอยู่ในสถานที่ที่ผู้ดูแลกำหนดให้ หรือ ผู้ดูแลจะต้องรู้เสมอว่าเด็กอยู่ที่ไหน ซึ่งจะต้องมั่นใจว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
  4. เด็กวัย 12 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ต้องรู้ว่าเด็กอยู่ที่ไหน กับใคร และต้องมั่นใจว่าเด็กอยู่ในที่ที่ปลอดภัย

ข้อควรคำนึงสำหรับเด็กๆ

หนูๆ จงจำไว้ เมื่อมีใครมาชวนให้หนูไปไหน อย่าลืมกฎแห่งความปลอดภัย คือ คำถาม 3 ข้อ ที่หนูๆต้องถามตัวเองอยู่เสมอ

ข้อ 1 เรารู้สึกดี หรือ ไม่ดี ที่จะทำตามที่คนๆนั้นบอก ข้อ 2 ถ้าเราไปกับเขา พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจได้ จะรู้หรือไม่ว่าเราไปไหน ข้อ 3 ถ้าเราไปกับเขา แล้วเกิดอันตรายขึ้น จะมั่นใจได้หรือไม่ว่าจะมีคนมาช่วยเรา

หากมีคำตอบข้อใดข้อหนึ่งว่า “ไม่” ให้ปฏิเสธการชักชวนนั้น และหากผู้ใหญ่คนดังกล่าวยังคงพยายามจะชักชวนหรือพาเราไปกับเขา ให้หนูๆตะโกนดังๆว่า “ไม่” หรือ “ช่วยด้วย” เพื่อขอความช่วยเหลือ

ข้อควรคำนึงสำหรับชุมชน

  1. สำรวจพื้นที่ในชุมชนว่ามีจุดไหนเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับเด็กหรือไม่ เช่น แหล่งน้ำ แหล่งมั่วสุม จุดอับ/จุดเปลี่ยวต่างๆ จุดที่มีสิ่งที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ หากพบว่ามีจุดเสี่ยง ให้ดำเนินการป้องกันแก้ไข
  2. สอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมเสี่ยง หรืออยู่ในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หรือ มีบุคคลที่มีแนวโน้มเป็นอันตรายกับเด็ก ให้ทำการป้องกันแก้ไข

อันตรายที่เกิดกับเด็ก ไม่ว่าจะถูกลักพาตัว การถูกทำร้าย หรือ อันตรายจากอุบัติเหตุ สามารถเกิดได้ในชั่วพริบตา ดังนั้น ป้องกันไว้ดีกว่า อย่าประมาทเป็นอันขาด เพราะเกิดอะไรขึ้น ไม่คุ้มกับความสูญเสียอย่างแน่นอน

ที่มา : ฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
https://bit.ly/3TbC5Oh


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท