Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เอาชนะร้อน ก่อนเผชิญ “ง่วง งง เงิบ”


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-03-2023 08:23

ในช่วงที่อากาศร้อนจัด มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ซ้ำยังเคยมีกรณีเสียชีวิตด้วย สิ่งที่ควรระวังและจับตาดูให้ดี คือ 5 โรคร้ายได้แก่ ช็อกแดด ขาดน้ำ ความดันขึ้น ไส้รั่ว (ท้องเสีย) โรคเก่ากำเริบโดยเฉพาะความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ภาพประกอบเคส

ในช่วงที่อากาศร้อนจัด มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ซ้ำยังเคยมีกรณีเสียชีวิตด้วย สิ่งที่ควรระวังและจับตาดูให้ดี คือ 5 โรคร้ายได้แก่ ช็อกแดด ขาดน้ำ ความดันขึ้น ไส้รั่ว (ท้องเสีย) โรคเก่ากำเริบโดยเฉพาะความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

วิธีสังเกต 3 สัญญาณร้ายฤดูร้อนก่อนช็อคแดด หรือที่เรียกว่า ฮี้ทสโตรค (Heat stroke)

โรคช็อกแดดเป็นภาวะที่เกิดได้ในฤดูร้อนเมื่อร่างกายมนุษย์อยู่ในสภาพที่ ร้อน อบและอับ เมื่อมี 3 ปัจจัยนี้ครบ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดเสียน้ำ ความดันต่ำแล้วช็อคหมดสติได้

ร่างกายมนุษย์มีขีดจำกัดของการอดทนต่อสิ่งต่างๆ ทั้งทางกายและทางใจ แต่ในคนที่ควบคุมตัวเองได้นั้นจะสามารถป้องกันตัวจากสิ่งที่เข้ามากระทบทั้งหลายได้ดี ดังนั้นการที่เรารู้สัญญาณเตือนว่า ร้อนทำพิษเอาไว้ก่อนก็จะช่วยให้สุขภาพไม่ทรุดลงไปจนถึงขีดสุดที่มนุษย์ทนไม่ได้ นั่นคือขั้นสมองกระทบกระเทือนและเสียชีวิต ซึ่งมีอันตรายที่มาจากความร้อนสูงที่กระทบร่างกาย

3 สัญญาณเตือนตัวเองก่อนเหตุร้ายจากร้อนจะเกิด คือ

  1. ง่วง สัญญาณแรกแบบเบาๆ คือ ง่วง เพลีย เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ รู้สึกอยากนอน นี่คือตอนที่เริ่มโดนความร้อนจัดใหม่ๆ
  2. งง เป็นสัญญาณที่ต้องพาตัวไปหลบร้อน หากยังไม่หลบร้อนจะมีอาการงุนงงจากเส้นเลือดสมองขยาย สมองโดนพิษจากความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิปกติ
  3. เงิบ เมื่อสมองถูกอบอยู่ในที่ที่ร้อนนานเกินจะทนแล้ว ส่งผลให้ระบบร่างกายผิดปกติ หัวใจทำงานหนัก ร่างกายขาดน้ำ รวมทั้งหมดเป็นผลลัพธ์น่าตกใจ คือ หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ดังที่เห็นจากกรณีน่าเศร้าอย่างเด็กติดอยู่ในรถกลางแดด หรือสุนัขและแมวที่เกิดอาการช็อกแดดขึ้นมายามฤดูร้อน

สิ่งที่จะช่วยป้องกันเราจากโรคช็อกแดดและโรคร้อนทำพิษอื่นๆ ได้ง่ายๆ คือ พยายามดื่มน้ำสะอาดอยู่เพราะน้ำคือสิ่งดับร้อนให้ร่างกายได้ดีที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่ร้อน อับ และอบนานเกิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน เช่น นั่งอยู่ในรถกลางแจ้ง หรือแม้กระทั่งอยู่ในห้องซาวน่า หรือสตีมรูมในฟิตเนส และสิ่งสำคัญ คือ อย่าให้ร้อนกระทบเย็น นั่นคือร่างกายไม่ควรเจอร้อนแล้วเข้าห้องแอร์เลยบ่อยๆ จะทำให้ไม่สบายเป็นไข้หวัดได้ง่ายๆ

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3mK6wPs


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท