Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

Save หัวใจวัยทำงาน ไลฟ์สไตล์เร่งรีบเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-03-2023 08:02

ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของวัยทำงานมีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ขาดการควบคุมดูแลโภชนาการอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการทำงานที่เผชิญภาวะกดดัน ความเครียดสะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย

ภาพประกอบเคส

ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของวัยทำงานมีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ขาดการควบคุมดูแลโภชนาการอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการทำงานที่เผชิญภาวะกดดัน ความเครียดสะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases, CVD) เป็นโรคเรื้อรังที่จัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรไทย

รู้เท่าทันพฤติกรรมเสี่ยงก่อนสาย เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด 1) การกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม อาทิ ฟาสฟู้ด อาหารแช่แข็ง เป็นอาหารที่สะดวก รวดเร็ว เหมาะกับไลฟ์สไตล์วัยแรงงาน แต่ถือเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม น้ำตาล และไขมันสูง 2) การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มักเป็นกิจกรรมที่ชาวแรงงานหลายคนใช้เพื่อเข้าสังคมหรือกำจัดขจัดความเครียด ทว่า บุหรี่มีสารพิษที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจรุนแรง ส่วนแอลกอฮอล์มีพิษโดยตรงต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ 3) ขาดการออกกำลังกาย คนทำงานส่วนใหญ่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยขยับร่างกาย และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ทั้งนี้อาจด้วยการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และการเดินทางไปทำงานที่ต้องอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน 4) ความเครียดสะสม เกิดจากการทำงานหนัก ต้องอยู่ในสภาวะกดดัน สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ และพักผ่อนน้อย ส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

อาการที่บอกว่ากำลังเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจลำบากมากกว่าปกติ เมื่อเดินขึ้นบันได เดินเร็ว หรือออกกำลังกาย (หอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก)
  • เจ็บบริเวณกลางหน้าอกหรือด้านซ้าย
  • ใจสั่น
  • พบว่าเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุมากขึ้น
  • หลังเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไม่สามารถนอนราบได้ หรือต้องนอนหัวสูง นอนหมอนมากกว่า 2 ใบ

โรคหัวใจเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ หากมีอาการเสี่ยงจึงความรีบไปหาหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียด และเข้าสู่การรักษาต่อไป

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เริ่มต้นจากการปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น

  • เรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ทำจิตใจให้แจ่มใส เช่น การหางานอดิเรก การเดินทางท่องเที่ยว
  • กินอาหารให้หลากหลาย งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ปรับโภชนาการให้เหมาะสม
  • ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6 - 8 ชั่วโมง ไม่หักโหมทำงานจนเกินไป
  • ตรวจสุขภาพให้เหมาะสมตามวัยและความเสี่ยงของร่างกาย

ที่มา
1.กรมสุขภาพจิต, กรมควบคุมโรค, สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค https://bit.ly/3LecPFh
2.แฟนเพจโรครว้ายๆ วัยทำงาน


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท