Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สมาร์ทโฟนซินโดรม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

08-03-2023 11:38

เนื่องจากสังคมปัจจุบันคนนิยมใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่น คนทำงานหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ จึงพบมีโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป ติดต่อกันทุกวันจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ภาพประกอบเคส

เนื่องจากสังคมปัจจุบันคนนิยมใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่น คนทำงานหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ จึงพบมีโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป ติดต่อกันทุกวันจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

อาการที่พบบ่อย

  • อาการปวดที่เกิดจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าก้มหรือบางคนก้มมากจนจอแทบติดหน้า การก้มแบบนี้ทำให้กระดูกต้นคอรับแรงกดมากขึ้น ถ้าศีรษะตั้งตรง 0% จะเห็นว่าแรงกดที่ต้นคอน้อยมาก ประมาณ 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าเราก้มมากขึ้นประมาณ 10-15 องศา แรงกดที่ต้นคอจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม และถ้าก้มมากขึ้นถึง 30 องศา แรงกดอาจมากถึง 25 กิโลกรัม แต่ถ้าก้มมากถึง 45 องศา แรงกดจะมากได้ถึง 20 กิโลกรัม ถ้ายิ่งโก้งโค้งทั้งคอและบ่า จะพบว่าแรงกดมีมากถึง 30 กิโลกรัม การที่เราอยู่ในท่านี้นาน ๆ ทำให้กระดูกต้นคอทำงานเยอะ รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบต้นคอและบ่า ต้องทำงานตลอดเวลา มีอาการเมื่อยล้า ทำให้เราไม่สามารถทำงานต่อได้
  • อาการจากการใช้มือกดหรือยกสมาร์ทโฟนขึ้นมานาน ๆ เช่น เล่นเกม ดูซีรีส์ หรือแชทเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกันจะทำให้กล้ามเนื้อเอ็นหรือที่แขน ที่ข้อมือมีอาการปวดได้ รวมทั้งบางรายอาจมีอาการมือชาได้ เนื่องจากการกดทับของพังผืดข้อมือ

เคล็ดลับการดูแล ควรป้องกันไม่ให้เกิดอาการพวกนี้โดยใช้สมาร์ทโฟนอย่างถูกวิธี ดังนี้

  • ไม่ควรก้มมาก
  • การใช้แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1 - 1.30 ชั่วโมง
  • ขณะใช้แทนที่จะต้องถือตลอดเวลา อาจใช้ขาตั้งแทน
  • เปลี่ยนจากการใช้นิ้วโป้งตลอดเวลา เป็นนิ้วชี้จิ้มบ้าง หรือควรวางบนโต๊ะแล้วใช้นิ้วอื่น ๆ ก็จะช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบได้

บริหารส่วนไหนดี

บริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า หัวไหล่ โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง เช่น

  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบต้นคอ คือ การก้มคอไปข้างหน้า สูดลมหายใจ นับ 1-10 เอียงไปทางด้านซ้ายและขวา นับ 1-10 และแหงนมองไปข้างหลัง นับ 1-10 อย่างช้า ๆ ให้มีการออกกำลังกล้ามเนื้อรอบต้นคอ
  • หากบริเวณบ่ามีอาการตึงมาก ให้ใช้มือฝั่งตรงข้ามมายืดกล้ามเนื้อบ่าให้คลายตัว
  • ในส่วนของแขน สามารถยืดกล้ามเนื้อแขนได้ โดยเหยียดแขนออกไปให้ตรง และใช้มือดันข้อมือ นับ 1-10
  • การกระดกนิ้วขึ้นเพื่อเป็นการบริหารนิ้ว
  • บริหารมือ โดยการงอเหยียดนิ้วมือ จะช่วยให้คลายกล้ามเนื้อที่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

หากออกกำลังกายแล้ว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว รายที่มีอาการมากก็ต้องมาพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู อาจจะต้องใช้ยาหรือวิธีการทำกายภาพ รวมทั้งสอนวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ลักษณะไหนที่ต้องมาพบแพทย์
เอ็นอักเสบเรื้อรัง มีปัญหาเรื่องนิ้วล็อก หรือมีอาการชาจากคอลงมาที่แขน นี่ก็สันนิษฐานได้ว่ามีเรื่องของหมอนรองกระดูกหลังส่วนคอมีอาการเสื่อมหรือพังผืดกดทับ

แพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็มสามารถช่วยได้ไหม
ในเรื่องของการฝังเข็มช่วยลดอาการปวดได้ หรือการนวดแผนไทย ในบางรายที่กล้ามเนื้อตึงเป็นเวลานานก็จะสามารถช่วยได้ แต่สิ่งสำคัญคือการป้องกัน และใช้สมาร์ทโฟนให้ถูกวิธี เพราะแม้จะรักษาหายแล้ว แต่หากกลับไปใช้ชีวิตประจำวันแบบเดิม ก็อาจจะต้องกลับมารักษาอีก

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3ZsrAsk


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท