Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เมื่อวันที่ครอบครัวไม่จำเป็นต้องตัวละครครบ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-03-2023 10:41

ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามในอดีตที่ทำให้ชาย-หญิงคู่หนึ่งเดินทางมาพบกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน และทำให้ “ชีวิต” อีกหนึ่งชีวิตถือกำเนิดมาบนโลกใบนี้ เราต่างรู้ดีว่า ในชีวิตจริงไม่มีคำว่า “จบบริบูรณ์” อย่างในละคร แต่ “การใช้ชีวิตร่วมกับใครอีกคน คือ หนังสือบทใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น”

ภาพประกอบเคส

ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามในอดีตที่ทำให้ชาย-หญิงคู่หนึ่งเดินทางมาพบกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน และทำให้ “ชีวิต” อีกหนึ่งชีวิตถือกำเนิดมาบนโลกใบนี้ เราต่างรู้ดีว่า ในชีวิตจริงไม่มีคำว่า “จบบริบูรณ์” อย่างในละคร แต่ “การใช้ชีวิตร่วมกับใครอีกคน คือ หนังสือบทใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น”

เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้อาจดำเนินเรื่องแบบอัตชีวประวัติที่แสนน่าเบื่อหน่าย อาจเป็นแนวโรแมนติกคอมเมดี้ หรืออาจดรามาน้ำตาไหล หลายครั้งที่ชีวิตอาจต้องจบลงที่การร้องไห้ฟูมฟาย การเลิกราและหย่าร้าง นี่แหละชีวิตจริง

ซึ่งไม่ว่าเรื่องราวในชีวิตของเราเป็นอย่างไร จงอย่าลืมว่า ”ลูก” ก็เป็นหนึ่งคนที่เราจะต้องโอบกอดเอาไว้แน่น ๆ และก้าวผ่านทุกข์สุขไปพร้อมกันกับพ่อแม่ ครอบครัวเรามีตัวละครครบ พ่อแม่ ลูกก็อยู่ตรงนั้น จะเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ลูกก็อยู่ตรงนั้น จะมีความรักครั้งใหม่ สร้างครอบครัวใหม่อีกครั้ง ลูกก็อยู่ตรงนั้น เด็กน้อยคนนั้นต้องการ “ใครสักคน” ที่รักเขาอย่างไร้เงื่อนไข เลี้ยงดูเขาอย่างดีด้วยความอบอุ่น ปราศจากความรุนแรง

ใครสักคนที่นิยามคำว่า “ครอบครัว” ในแบบที่ไม่ต้องมีสมาชิกครบแบบพ่อ-แม่-ลูก
หลายครั้งที่สมาชิกครบ แต่ลูกไม่ได้เห็นและสัมผัสกับคำว่า “ครอบครัวที่อบอุ่น” และต้องเติบโตมาพร้อมกับประสบการณ์อันเลวร้าย ภาพจำที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายกันด้วยคำพูดที่ไม่ดี การกระทำที่ไม่ดี และความรุนแรงในครอบครัวที่จะประทับกรีดลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของเด็กคนหนึ่งในวันที่สมองของเขากำลังเติบโต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อลักษณะทางอารมณ์ พฤติกรรม แนวคิด การตัดสินใจแก้ไขปัญหา และเพิ่มโอกาสการเกิดโรคทางอารมณ์อย่างโรคซึมเศร้าเมื่อเขาต้องเติบใหญ่ขึ้น

พ่อแม่ที่มีอารมณ์ไม่ปกติ เครียดเกินไป เศร้าเกินไป โดยเฉพาะหากรุนแรงถึงการเป็น “โรคซึมเศร้า” ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อเด็กอย่างชัดเจน เพราะเด็กสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนรอบตัวได้มากกว่าที่เราคิด งานวิจัยพบว่าเด็กที่เติบโตขึ้นมากับพ่อแม่ที่ซึมเศร้ามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าเองตอนเป็นผู้ใหญ่สูงขึ้นถึง 4 เท่า โดยหากพ่อแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะส่งผลต่อเด็กในทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด-เด็กโต และส่งผลต่อทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทักษะทางสังคม อารมณ์ และพัฒนาการความเฉลียวฉลาด

อยากให้ลูกมีความสุข ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ที่มีสุขภาพจิตที่ดี
เมื่อพ่อแม่มีปัญหาในชีวิตที่เข้ามากระทบสุขภาพจิตใจก็ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยหลายเรื่องอย่างอาจสามารถดูแลและจัดการได้ด้วยตนเอง ทั้งจากการจัดการกับปัญหาที่เป็นสาเหตุโดยตรง และหากปัญหานั้นไม่สามารถแก้ไขได้ทันที

การทำร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือกับปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน การรับประทานอาหารที่ดี ครบถ้วน การนอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังสม่ำเสมอ และการทำกิจกรรมที่เยียวยาจิตใจอย่างการพูดคุยกับเพื่อน การช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือกระทั่งการกอดและเล่นกับลูกอย่างเต็มที่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้แม้ปัญหาตรงหน้าจะยังไม่ถูกแก้ไข แต่ปัญหาหลายอย่างก็แก้ไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะปัญหาของความสัมพันธ์ที่สะสมจนพังร้าวราน

ดังนั้นการเดินออกมาจากความสัมพันธ์ที่แก้ไขไม่ได้แล้วและเริ่มใหม่อีกครั้งพร้อมกับลูกอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อเรา เพื่อลูก ทั้งในวันนี้และในอนาคต เพราะพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวก็สามารถเลี้ยงลูกให้ดีได้ และอาจดีกว่าปล่อยให้ลูกต้องอยู่ในครอบครัวที่เปราะแตกจากภายใน

ที่มา : thaipbskids แฟนเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ
https://bit.ly/3yh3DIp


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท