Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ผู้สูงวัย 3 ช่วงวัย กับความต้องการที่ต่างกัน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-03-2023 10:05

เมื่อนึกถึงผู้สูงวัยภาพที่หลายคนมักจะนึกถึง คือ คนแก่ที่ผิวเริ่มเหี่ยว ดวงตาฟ้าฟาง เดินไม่ค่อยสะดวก มีไม้เท้าเป็นอาวุธคู่กาย แต่แท้จริงแล้ว ภายใต้คำว่า “ผู้สูงวัย” ยังมีความหลากหลายมากมาย กลุ่มผู้สูงวัย เป็นกลุ่มที่เปรียบเสมือนช่วงปลายน้ำในเส้นทางของการดูแลส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย

ภาพประกอบเคส

เมื่อนึกถึงผู้สูงวัยภาพที่หลายคนมักจะนึกถึง คือ คนแก่ที่ผิวเริ่มเหี่ยว ดวงตาฟ้าฟาง เดินไม่ค่อยสะดวก มีไม้เท้าเป็นอาวุธคู่กาย แต่แท้จริงแล้ว ภายใต้คำว่า “ผู้สูงวัย” ยังมีความหลากหลายมากมาย กลุ่มผู้สูงวัย เป็นกลุ่มที่เปรียบเสมือนช่วงปลายน้ำในเส้นทางของการดูแลส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย โดยแบ่งผู้สูงวัยตามช่วงอายุเป็น 3 ช่วง คือ

  1. อายุระหว่าง 60-69 ปี คือ ผู้ที่เพิ่งเริ่มย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี อาจมีโรคประจำตัวบ้าง เช่น เบาหวาน ความดัน ดังนั้นควรเน้นการป้องกันหรือประเมินหาความเสี่ยงของโรค เช่น ตรวจภาวะกระดูกพรุน ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็อายุ 80 ปีไปแล้ว
  2. อายุระหว่าง 70-85 ปี เป็นช่วงอายุที่เริ่มมีโรคประจำตัวมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ขณะเดียวกันผู้สูงอายุกลุ่มนี้ก็อยากจะพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด ดังนั้นต้องทำให้ผู้สูงอายุคงคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกาย เช่น ดูแลกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อไม่ให้ติด ช่วยให้ผู้สูงอายุเดินได้แม้มีภาวะเข่าเสื่อม และได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง เป็นต้น
  3. อายุตั้งแต่ 86 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่พึ่งตัวเองได้ลดลงและต้องการการดูแล จากลูกหลานญาติพี่น้อง พยาบาลหรือผู้ดูแลพิเศษ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุในช่วงวัยนี้จะเป็นการอบรมหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลในเรื่องต่างๆ อาทิ โภชนาการ กายภาพบำบัด และให้ผู้ดูแลเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของผู้สูงอายุ

ผู้สูงวัยในแต่ละช่วงอายุต้องการความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน เพราะแต่ช่วงวัยก็จะมีสาเหตุของปัญหาที่ต่างกัน หากผู้ดูแลเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้สูงวัย และผู้สูงวัยเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเองก็จะช่วยให้ปรับตัว และเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งบุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมาก ที่จะช่วยให้ผู้สูงวัยได้อยู่อย่างมีความสุข

ที่มา : 1.Good Factory https://bit.ly/3yguUdZ 2.มติชน https://bit.ly/3ZpdsjF


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท