Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

รับมือกับความเครียดจากการตกงาน


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-03-2023 09:37

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์การหรือบริษัทจึงต้องการบุคลากรที่มีทักษะพร้อมและเหมาะสมกับตลาดแรงงานมาสร้างผลผลิตให้แก่องค์การอย่างเต็มศักยภาพ

ภาพประกอบเคส

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์การหรือบริษัทจึงต้องการบุคลากรที่มีทักษะพร้อมและเหมาะสมกับตลาดแรงงานมาสร้างผลผลิตให้แก่องค์การอย่างเต็มศักยภาพ

แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในฐานะคนทำงานที่ต้องถูกเลิกจ้างแบบกะทันหัน คนส่วนใหญ่มักรู้สึกสะเทือนใจ ตกใจ รู้สึกสับสน ว่า “ฉันจะทำอย่างไรต่อไป ชีวิตของฉันจะเป็นอย่างไรหากไม่มีงานนี้” และคนที่ถูกไล่ออกส่วนมากมักรู้สึกอับอาย คิดว่าตนไม่เป็นที่ต้องการ และเป็นคนล้มเหลว หรือบางคนก็เครียดจัดจนจบชีวิตตนเองลง

การสูญเสียงานส่งผลกระทบต่อจิตใจที่รุนแรง 3 ประการ ได้แก่
1. การสูญเสียงานทำให้คนเราสูญเสียความเป็นตัวตน หรือ identity ของตนไป กล่าวคือ คนเรามักระบุความเป็นตัวตนของเรากับงานที่เราทำ เช่น ฉันเป็นนักการตลาด ฉันเป็นนักร้อง ฉันเป็นหมอ เป็นต้น หรืออาจจะมีความรู้สึกผูกพันอย่างแนบแน่นกับอาชีพของตน การสูญเสียงานไปจึงอาจทำให้รู้สึกสูญเสียส่วนหนึ่งของตนเองไปด้วย
2. การสูญเสียจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อคนเราสูญเสียงาน ก็มักรู้สึกว่าชีวิตของไร้จุดหมาย เช่น “วันนี้ฉันจะทำอะไร พรุ่งนี้ฉันจะทำอะไร” ดังนั้นหากมีเหตุที่ทำให้ต้องลาออกจากงาน หรือโดนไล่ออก ก็จะรู้สึกสงสัยถึงจุดหมายในชีวิตของตนเอง และเริ่มประเมินว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตนต้องการต่อไปหลังจากที่สูญเสียงานไป

บางคนมีโอกาสและเวลาทบทวน มองย้อนกลับไปว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต ก็อาจค้นพบจุดหมายใหม่ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพบความหมายในชีวิตของตน เช่น หลังจากตกงาน บางคนก็ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อพักผ่อนจิตใจชั่วคราว ใช้เวลาอยู่กับตนเอง คิดย้อนทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ จนทำให้ค้นพบความต้องการที่แท้จริง ได้ทบทวนความสามารถ ความถนัด และคุณลักษณะของตนว่าจริง ๆ แล้ว ตนเหมาะกับอะไร จนทำให้พบเจอทางเลือกใหม่หรืองานใหม่ที่เติมเต็มชีวิตของตนมากกว่าเดิม
3. การรู้สึกสูญเสียการเห็นคุณค่าในตนเอง เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ล้มเหลวในการทำสิ่งใด ก็มักรู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และไร้ความสามารถ โดยเฉพาะการอาศัยอยู่ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับการมุ่งมานะทำงานอย่างหนักเพื่อผลผลิต และความสำเร็จในอาชีพการงาน ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองนั้นมักขึ้นอยู่กับความสำเร็จและผลผลิตที่เราได้มาจากการทำงาน หากเราทำงานสำเร็จ ได้รับคำชมเชยจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน เราก็จะรู้สึกว่าเราเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าและมีความสามารถในองค์การ

วิธีการรับมือกับความเครียดหลังตกงาน
1. พยายามอย่าตื่นตระหนก งานวิจัยพบว่าการวิตกกังวลในระดับปานกลางจะเป็นตัวสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่การตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลขั้นสุดจะทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ยิ่งแย่ลง สภาวะตื่นตระหนก จะไม่สามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องเหมาะสมได้
2. หลีกเลี่ยงการปลีกตัว หลายคนเมื่อเผชิญกับความเจ็บปวด มักจะปลีกตัวไปเยียวยารักษาตนเอง และการให้เวลากับตนเองเพื่อทบทวนสิ่งที่ผ่านมา เพื่อวางแผนอนาคตใหม่หลังจากตกงาน ซึ่งก็อาจจะมีประโยชน์ หากแต่ไม่ควรปลีกตัวจากคนที่รักและห่วงใย
3. อย่าปล่อยให้อารมณ์ลบมาครอบงำ หลังจากตกงาน คนทั่วไปมักรู้สึกโกรธ ขมขื่น และเศร้าหมอง การจมอยู่กับอารมณ์เหล่านี้จะทำให้เสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ในการนำเวลาและพลังกาย พลังใจ มาคิดหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตนเอง
4. เลี่ยงการคิดอยู่ในกรอบ หลาย ๆ คนอาจคิดว่าการหางานชั่วคราว หรือ part-time อาจเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ แต่หากเงินเป็นปัจจัยสำคัญ พอตกงานก็ย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นควรที่จะมองทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ด้วย ไม่ควรคิดอยู่ในกรอบว่าต้องทำงานที่คล้าย ๆ กับงานที่เคยทำอยู่เพียงเท่านั้น
5. ไม่ควรตั้งคำถาม “ถ้าหาก หรือ what ifs” ยกตัวอย่างเช่น “ถ้าหากฉันไม่ถูกไล่ออก ฉันก็คง หรือ ถ้าหากฉันทำโปรเจคงานนั้นสำเร็จ ฉันก็คง….” ในเมื่ออดีตไม่สามารถแก้ไขได้ ก็ไม่ควรไปเสียเวลา ทว่าควรที่จะหันมาพิจารณาถึงเป้าหมายต่อไปในชีวิต

ที่มา : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://bit.ly/3ZI6Kox


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท