Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ชีวิตดีขึ้น หลังจัดโต๊ะ-เก้าอี้ทำงาน ครั้งเดียว


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

04-03-2023 09:27

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ชีวิตของเราก็ไม่เคยห่างออกจากการนั่งบนเก้าอี้ หรือห่างจากการทำงานบนโต๊ะเลย แต่ทำไมนั่งอยู่ดีๆ ก็รู้สึกปวด เมื่อย ร้าว ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือความไม่สมดุลระหว่างสัดส่วนร่างกายของเรากับโต๊ะและเก้าอี้นั่นเอง

ภาพประกอบเคส

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ชีวิตของเราก็ไม่เคยห่างออกจากการนั่งบนเก้าอี้ หรือห่างจากการทำงานบนโต๊ะเลย แต่ทำไมนั่งอยู่ดีๆ ก็รู้สึกปวด เมื่อย ร้าว ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือความไม่สมดุลระหว่างสัดส่วนร่างกายของเรากับโต๊ะและเก้าอี้นั่นเอง เช่น
1. คนที่ช่วงตัวสูง ตำแหน่งของโต๊ะอาจจะอยู่ต่ำเกินไป จึงต้องโค้งค่อมตัวมาเขียนหนังสือ ร่วมกับห่อไหล่ตามลักษณะงานการทำงาน ทำให้ปวดหลังและบ่าได้
2. คนที่ช่วงตัวปกติ โดยมากมักจะนั่งได้ตำแหน่งพอดีกับโต๊ะ ไม่สูงหรือต่ำไป แต่อาจจะมีไหล่ห่องุ้มมาได้บ้าง
3. คนที่ตัวสั้น ตำแหน่งของโต๊ะอาจจะอยู่สูงจนเกินไป ต้องวางแขนสูงเพื่อเขียนหนังสือหรือพิมพ์คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ทำให้ต้องอยู่ในท่ายกบ่าตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการปวดบ่าและข้อไหล่ได้

วิธีการปรับ และ เปลี่ยน ที่จะทำให้เราใช้ชีวิตบนโต๊ะและเก้าอี๊ได้ง่ายขึ้น เริ่มง่ายๆ ได้โดย

  1. ปรับตัวเราให้เหมาะกับโต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ทำงาน
    1.1 ขณะนั่ง ลองสำรวจตัวเองว่าจัดร่างกายในตำแหน่งที่เหมาะสมถูกต้องดีหรือไม่ โดยการจัดร่างกายที่ดีนั้น ควรให้ศีรษะและหลัง อยู่ในแนวเดียวกัน และอยู่กึ่งกลางระหว่างไหล่ สะโพก และช่วงขา
    1.2 อยู่ในท่านั่งที่ดี ถูกต้องหรือไม่ โดยท่านั่งที่ดี มือควรวางพอดีที่วางแขน หลังแนบชิดติดพนักพิง เท้าวางติดชิดพื้น

  2. ปรับโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงาน ให้เหมาะกับเรา
    2.1 จัดลำดับความสำคัญในการวางอุปกรณ์บนโต๊ะ โดยของใช้ประจำควรวางไว้ใกล้ตัวทางด้านหน้า เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเขียน เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบจับ ส่วนของใช้ไม่ประจำวางไว้ด้านข้างซ้ายบ้างขวาบ้าง เช่น กล่องเก็บแฟ้มหรือถังขยะ และพยายามหมั่นสลับตำแหน่งเพื่อให้ร่างกายไม่ทำงานหนักข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
    2.2 ปรับระดับเก้าอี้ ให้เหมาะกับตัวเองและตำแหน่งโต๊ะ โดย

  3. ปรับที่วางแขนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเทียบตำแหน่งขณะนั่ง ให้ข้อศอกวางตรงกับข้อไหล่และตั้งฉากกับแขนพอดี แขนวางอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับโต๊ะทำงาน ช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบ่า ให้ไม่ต้องเกร็งยกบ่าอยู่ตลอดหากที่วางแขนต่ำเกินไปหรือบ่ายกอยู่ตลอด และหากที่วางแขนสูงเกินไป (ในกรณีที่ไม่สามารถปรับได้ ให้หาหมอนมารองใต้แขน)
  4. ปรับเบาะรองนั่งอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเทียบตำแหน่งเบาะนั่งให้ตรงกับข้อพับเข่าในท่ายืนตรง จากนั้นปรับเบาะนั่งขึ้นลงให้ตรงกับข้อพับเข่าของเรา เพื่อให้เท้าวางติดพื้นได้พอดี ไม่ต้องนั่งเขย่งเท้าให้กล้ามเนื้อน่องตึง เสี่ยงเจ็บเอ็นร้อยหวาย (ในกรณีที่ไม่สามารถปรับได้ ให้หาเก้าอี้มารองใต้เท้า)
  5. ปรับพนักพิงให้เหมาะกับสรีระ โดยเก้าอี้นั่งที่ดี ควรจะมีส่วนเว้าโค้งเพื่อรองรับน้ำหนักกระดูกสันหลังส่วนล่าง เมื่อนั่งแล้วพนักพิงแนบชิดติดได้ทั้งแผ่นหลัง
  6. ปรับที่รองคอให้เหมาะกับสรีระ โดยปรับให้อยู่ในระดับที่ประคองกระดูกต้นคอให้ตรง ไม่หมุนมากจนทำให้อยู่ในท่าก้มหรือเงยคอขึ้น

การปรับเปลี่ยนเพียงเท่านี้ จะช่วยให้เราห่างไกลจากอาการปวดเมื่อย ออฟฟิศซินโดรมได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ควรลุกขึ้นยืน เดิน ขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถ อย่างน้อย 5-10 นาทีทุกๆ 50 นาที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำงานได้แล้ว

ที่มา : เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
http://healthy-org.com/libraries/content/63


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท