Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

6 เรื่องต้องรู้ของฟรีแลนซ์เมื่อเจ็บป่วย


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

04-03-2023 09:22

ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ล้วนเป็นอาชีพที่ไม่มีสวัสดิการจากนายจ้าง หลายๆ คนไม่มีประกันสุขภาพติดตัว หากเกิดเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาลจะทำอย่างไร มีสิทธิอะไรที่คุ้มครองบ้าง

ภาพประกอบเคส

ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ล้วนเป็นอาชีพที่ไม่มีสวัสดิการจากนายจ้าง หลายๆ คนไม่มีประกันสุขภาพติดตัว หากเกิดเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาลจะทำอย่างไร มีสิทธิอะไรที่คุ้มครองบ้าง

  1. ฟรีแลนซ์มีสิทธิรักษาพยาบาลไหม อาชีพฟรีแลนซ์ แม้ไม่มีสวัสดิการใดๆ ขอเพียงมีบัตรประชาชน (กรณีอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สูติบัตรแทน) หากเจ็บป่วยก็สามารถขอรับสิทธิรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามเงื่อนไข โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. ได้สิทธิจากใคร ปัจจุบันสวัสดิการรักษาพยาบาลจากภาครัฐได้ครอบคลุมคนไทยทุกเพศทุกวัย แม้ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็สามารถใช้สิทธิ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรทองได้
  3. ต้องลงทะเบียนไหม สิทธิบัตรทองมีเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนเข้าถึงสวัสดิการรักษาพยาบาลได้แม้ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการใดๆ ดังนั้นแม้ใครยังไม่เคยลงทะเบียน แต่หากเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจนต้องเข้ารับการรักษาตัว สถานพยาบาลนั้นจะทำหน้าที่ลงทะเบียนให้อัตโนมัติเพื่อให้เราเข้าถึงสิทธิบัตรทองได้ทันที
  4. มีสิทธิอื่นเพิ่มไหม นอกจากสิทธิบัตรทองแล้ว ฟรีแลนซ์สามารถสมัครสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 (ม.40) เพื่อรับสิทธิกรณีอื่นๆ เพิ่มเติมได้ สำหรับฟรีแลนซ์ที่ไม่เคยอยู่ในระบบประกันสังคมมาก่อน หรือเคยอยู่แต่ออกมาแล้วเกิน 6 เดือน สามารถสมัครประกันสังคม ม.40 เพิ่มได้ โดยสิทธิรักษาพยาบาลยังคงรับจากสิทธิบัตรทอง (ไม่ได้รับจากประกันสังคม ม.40) แต่จะได้รับ 5 สิทธิอื่นเพิ่มเติม เมื่อนอนโรงพยาบาล มีบุตร ชราภาพ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
  5. ประกันสังคม. ม.40 มีกี่ทางเลือก ฟรีแลนซ์สามารถเลือกจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.40 ได้ 3 ทางเลือก จำนวนเดือนละ 70-300 บาท เพื่อให้ได้รับสิทธิต่างๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากสิทธิรักษาพยาบาล โดยสามารถเช็กเงื่อนไขและรายละเอียดจากสำนักงานประกันสังคม
  6. ทำไมประกันสังคม ม.40 ไม่ให้สิทธิรักษาพยาบาล เนื่องจากผู้ประกันตนในประกันสังคม มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
  7. ม.33 เป็นภาคบังคับ สำหรับพนักงานบริษัทเอกชน โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละไม่เกิน 750 บาท ขึ้นกับฐานเงินเดือน
  8. ม.39 เป็นภาคสมัครใจ สำหรับคนที่ออกจาก ม.33 (ออกจากงานประจำ) มาไม่เกิน 6 เดือน สมัครใจเข้าประกันสังคมอีกครั้ง โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท
  9. ม.40 เป็นภาคสมัครใจ สำหรับเหล่าฟรีแลนซ์ ที่ไม่เคยอยู่ระบบประกันสังคมมาก่อน หรือเคยอยู่ ม.33 แต่ออกมาแล้วเกิน 6 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละ 70-300 บาท ขึ้นกับแต่ละทางเลือก

ประกันสังคม ม.40 เป็นประเภทที่จ่ายเงินสมทบน้อยที่สุด จึงไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม เหมือน ม.33 และ ม.39 อย่างไรก็ตามเงินสมทบ ม.40 ที่จ่ายไป จะได้รับสิทธิอื่นๆ ทดแทนตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนสิทธิรักษาพยาบาลจะรับจากบัตรทองแทน

สวัสดิการภาครัฐมีอยู่ไม่น้อย อยู่ที่เราเรียนรู้และเลือกใช้ได้เหมาะสมหรือไม่ บางสิทธิได้ฟรีทันที บางอาจต้องคิดก่อนจ่ายเงิน

ที่มา : WealthMeUp
https://wealthmeup.com/21-01-09-freelance/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท