Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ลูกรับรู้เรื่องเพศตอนไหน


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

04-03-2023 08:39

มีคนเคยกล่าวว่า เมื่อโตขึ้นเด็กจะเลือกเพศให้ตัวเอง เพศที่มาจากอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี ซึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างจากเพศสภาพที่ติดตัวเขามาก็ได้ แต่เขารู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาคือเพศอะไร และจะเริ่มเลือกเพศสำหรับใช้ชีวิตตอนไหน เพื่อคลายความสงสัยและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเพศที่เกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูรูปแบบการรับรู้เรื่องเพศของลูกน้อยไปพร้อมกัน พัฒนาการการรับรู้เรื่องเพศในเด็ก

ภาพประกอบเคส

มีคนเคยกล่าวว่า เมื่อโตขึ้นเด็กจะเลือกเพศให้ตัวเอง เพศที่มาจากอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี ซึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างจากเพศสภาพที่ติดตัวเขามาก็ได้ แต่เขารู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาคือเพศอะไร และจะเริ่มเลือกเพศสำหรับใช้ชีวิตตอนไหน เพื่อคลายความสงสัยและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเพศที่เกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูรูปแบบการรับรู้เรื่องเพศของลูกน้อยไปพร้อมกัน พัฒนาการการรับรู้เรื่องเพศในเด็ก

  • “ผมหรือหนูคือมนุษย์” ตามพัฒนาการของเด็ก หลังจากคลอดแล้วพวกเขาจะยังไม่รู้ตัวเองคือเพศอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นบุคคล เพราะยังคิดว่าตัวเองกับแม่หรือคนเลี้ยงหลักคือคนคนเดียวกัน (คล้ายตอนยังอยู่ในครรภ์) แต่จะเริ่มชัดเจนว่าตัวเองมีตัวตนและรับรู้การมีอยู่ของคนอื่นเมื่ออายุเกิน 5 เดือนไปแล้ว

  • “ผมคือผู้ชาย เธอคือผู้หญิง” เมื่อเข้าสู่อายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรับรู้เพศตนเอง สนใจอวัยวะเพศของตัวเองและแยกความแตกต่างระหว่างเพศได้จากลักษณะภายนอก เช่น ทรงผม ร่างกาย การแต่งกาย และจะรู้ว่าตัวเองคือเพศอะไร รวมทั้งสามารถตอบคำถามได้ ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นช่วงวัยสำคัญสำหรับพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ดังนั้นในช่วงอายุ 3-6 ปี พ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกับลูกควรจะเป็นต้นแบบที่ดีเรื่องเพศให้กับลูก ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบและซึมซับพฤติกรรมทางเพศตามผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
    ในกรณีที่เด็กมีความหลากหลายทางเพศจากฮอร์โมนหรือร่างกายไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็จะแสดงออกในช่วงวัยนี้เช่นเดียวกัน

  • “เราต่างมีความหลากหลายทางเพศ” เมื่อย่างเข้าสู้วัยเรียน เด็กจะมีสังคมร่วมกับกลุ่มเพศเดียวกับ บุคลิกคล้ายกัน จากนั้นพอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง สภาพร่างกายจะเริ่มทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ เริ่มอยากมีแฟน และเป็นช่วงที่มีความรู้สึกทางเพศกับเพศใด (sexual orientation) และมีอารมณ์ทางเพศกับเพศใดจะชัดเจนขึ้น ซึ่งความพึงพอใจนี้อาจจะไม่ได้ตรงกับเพศกำเนิด เช่น เพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่อาจมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นหญิงและพึงพอใจทางเพศกับเพศชาย เป็นต้น

พ่อแม่ทุกคนควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการทางเพศของลูกน้อยในทุกช่วงการเรียนรู้เพื่อให้เขาพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ว่าลูกจะมีอัตลักษณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างจากเพศกำเนิด ทั้งหมดล้วนเป็นความหลากหลายทางเพศที่ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตเวช และไม่ว่าพวกเขาจะเลือกเพศแบบไหนจำไว้เสมอว่า “เพศไม่ได้กำหนดความเป็นมนุษย์ของเขา และเขายังคงเป็นลูกที่เรารักเช่นเดิม”

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3EV7YEV


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท