Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

หงุดหงิดซึมเศร้า อาการก่อนมีประจำเดือน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

25-02-2023 09:53

อาการหงุดหงิดซึมเศร้า เป็นอาการที่เกิดกับผู้หญิงบางรายในช่วงก่อนมีประจำเดือน และมักจะเกิดขึ้นทุกเดือน โดยจะมีอาการก่อนประจำเดือนมา 3-4 วัน เมื่อประจำเดือนมาอาการหงุดหงิดซึมเศร้าก็จะหายไปเอง เป็นอาการที่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเอาไว้ได้และก่อให้เกิดปัญหาในด้านปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ภาพประกอบเคส

อาการหงุดหงิดซึมเศร้า เป็นอาการที่เกิดกับผู้หญิงบางรายในช่วงก่อนมีประจำเดือน และมักจะเกิดขึ้นทุกเดือน โดยจะมีอาการก่อนประจำเดือนมา 3-4 วัน เมื่อประจำเดือนมาอาการหงุดหงิดซึมเศร้าก็จะหายไปเอง เป็นอาการที่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเอาไว้ได้และก่อให้เกิดปัญหาในด้านปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ลักษณะอาการ ได้แก่

  • หงุดหงิดมาก
  • เครียดหรือวิตกกังวลมาก
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • เบื่ออาหารหรือกินเยอะเกินไป
  • นอนไม่หลับหรือนอนเยอะเกินไป
  • สมาธิไม่ดี ความจำไม่ดี
  • เบื่อหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  • บางคนอาจมีความรู้สึกบวม ท้องอืด ท้องป่อง บวมน้ำ ปวดข้อ และเมื่อประจำเดือนมาอาการเหล่านั้นก็จะหายไป

คนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว มักมีอาการทุกเดือน บางเดือนมีอาการมากแต่บางเดือนอาจมีอาการน้อย หรือบางคนเป็นน้อยอยู่ 2-3 เดือนแล้วกลับมาเป็นมากติดต่อกันหลายเดือน ผู้ป่วยบางรายมีความสับสนระหว่างโรคดังกล่าวกับโรคซึมเศร้า และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งควรทำความเข้าใจใหม่ โดยทั้งสองโรคนี้สามารถแยกออกจากกันได้ สังเกตได้จากอาการหงุดหงิดซึมเศร้าที่มักจะหายไปเมื่อมีประจำเดือนมา

สาเหตุหลักเกิดจาก
ฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลงไป หรือบางคนมีระบบสารรับรู้ในเรื่องของอารมณ์ตอบสนองผิดปกติต่อฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ (เฉพาะเพศหญิง) พบว่าอัตราผู้ป่วยกว่า 50% มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือบางคนมีพื้นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ฉุนเฉียวง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน สำหรับอัตราผู้ป่วยด้วยโรคหงุดหงิดซึมเศร้านั้นพบว่ามีจำนวนกว่า 5% ของผู้หญิงทั้งหมด

ผลกระทบที่เกิดจากโรคหงุดหงิดซึมเศร้าที่เห็นได้ชัด คือ*
ด้านสัมพันธ์ภาพ เพราะเมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์รุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้ยาก ในกรณีที่ซึมเศร้ามากจะทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจ ไม่อยากไปทำงานหรือไม่อยากไปเรียนหนังสือ ทำให้กระทบเรื่องงานและเรื่องเรียนตามมา

วิธีแก้ไข
หากรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคดังกล่าวควรปรับพฤติกรรม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงชาและกาแฟ เนื่องจากในชาและกาแฟมีสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดซึมเศร้า โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เนื่องจากเมื่อมีประจำเดือนขณะที่ปัญหารุมเร้าหลายอย่าง อาการจะยิ่งแย่ลง ดังนั้นควรจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อน เช่น เคลียงานให้เสร็จก่อนช่วงประจำเดือนมา เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการหงุดหงิดซึมเศร้า
แพทย์จะทำการพิจารณาก่อนว่าคนไข้มีอาการมากหรือน้อยแค่ไหน หากมีอาการมากทางสูตินรีแพทย์จะให้ยาคุมเพื่อปรับฮอร์โมน แต่ยาตัวดังกล่าวมีผลข้างเคียงพอสมควร หากคนไข้มีอาการไม่มากอาจแนะนำให้คนไข้ทำการปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง ส่วนทางจิตแพทย์อาจจะให้ยาแก้ซึมเศร้า สำหรับวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้แก่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ที่มา : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3IOIQ51


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท