Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เลี้ยงลูกอย่างไรให้รักกัน


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

25-02-2023 09:22

เมื่อมีลูกสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนามากที่สุด คือ อยากให้ลูกรักใคร่ปรองดองและรักกัน เป็นพี่น้องที่ช่วยเหลือกันไปจนตลอดชีวิต แต่ในความเป็นจริงลูกชอบทะเลาะกัน อิจฉา แก่งแย่งชิงดี หรืออยากเป็นที่หนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่านี่จะเป็นสิ่งที่ยาก แต่เชื่อเถอะว่าไม่ยากเกินที่พ่อแม่จะรับมือ หากเรามีความเข้าใจ ให้ความรัก และให้กำลังใจลูกๆ

ภาพประกอบเคส

เมื่อมีลูกสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนามากที่สุด คือ อยากให้ลูกรักใคร่ปรองดองและรักกัน เป็นพี่น้องที่ช่วยเหลือกันไปจนตลอดชีวิต แต่ในความเป็นจริงลูกชอบทะเลาะกัน อิจฉา แก่งแย่งชิงดี หรืออยากเป็นที่หนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่านี่จะเป็นสิ่งที่ยาก แต่เชื่อเถอะว่าไม่ยากเกินที่พ่อแม่จะรับมือ หากเรามีความเข้าใจ ให้ความรัก และให้กำลังใจลูกๆ

เราไปดูเทคนิควิธีการเลี้ยงดู การสอนให้ลูกรักกัน แล้วลองไปปรับใช้กันดู

1.อย่าเสียเวลาไปกับการสั่งว่า "เป็นพี่ต้องรักน้อง"
ความรักไม่ใช่ประโยคคำสั่ง ความรู้สึกไม่ใช่เรื่องสั่งได้ เด็กๆ ไม่ได้รักใครตามสัญชาติญาณ แต่ความรักของเด็กๆ เกิดขึ้นจากการพบว่าตัวเองเป็นที่รัก และพบว่าการพี่มีน้องเป็นเรื่องดีๆ ในชีวิต ทำให้พี่รู้สึกดีกับน้อง จากการพบว่ามีน้องแล้วชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่มีภาระหรือมีความกดดันที่มากขึ้น ลองหลีกเลี่ยง คำพูดที่ว่า "ต้องรักน้องนะ" "ต้องช่วยแม่เลี้ยงน้องด้วยล่ะ" ลองเปลี่ยนเป็น "แม่ดีใจที่หนูจะได้มีเพื่อนเล่น คอยดูแลกัน" "น้องต้องดีใจแน่ๆ ที่มีพี่ที่น่ารักอย่างลูก" “น้องเค้ารักหนูมากเลยน้า” อยากให้พี่น้องรักกัน อย่าใช้แต่คำพูด แต่ "ทำ" ให้พี่น้องรักกัน ด้วยการทำให้พี่น้องรู้สึกดีต่อกันและรู้สึกดี "กับตัวเอง"

2.เลี่ยงประโยคทำให้พี่น้องไม่ชอบขี้หน้ากัน
"ต่อไปต้องเป็นหมาหัวเน่าแน่ๆ" "ดูสิ เห็นไหมน้องเก่งกว่าอีก" "ถ้าดื้อ แม่จะรักน้องคนเดียวละนะ" คำพูดเหล่านี้แม้ว่าจะพูดออกมาด้วยความล้อเล่น หรือหวังผลให้ลูกทำตัวให้ดีขึ้น แต่มักส่งผลร้ายให้พี่น้องแข่งกัน เปรียบเทียบกัน ไปจนถึงเกลียดกันมากขึ้น

3.เลี่ยงประโยคคลาสสิค ที่ทำให้พี่ไม่รู้จะมีน้องมาทำไม
"เป็นพี่ก็ยอมน้องหน่อย" "เป็นพี่ต้องเสียสละ" "เป็นพี่ต้องเป็นแบบอย่าง" ประโยคเหล่านี้มักทำให้พี่ยิ่งไม่ชอบขี้หน้าน้อง และน้องมักจะเสียนิสัย เด็กๆ ไม่ได้ตกลงกันมาว่าใครจะมาเป็นพี่ เด็กทุกคนล้วนกำลังอยู่ในวัยเรียนรู้ ทุกคนควรฝึกการเคารพกติกา เคารพสิทธิกันและกัน ฝึกเสียสละ และฝึกแบ่งปัน

4.เข้าใจธรรมชาติว่าพี่น้องต้องทะเลาะกัน "เป็นธรรมดา"
ไม่มีใครอยู่ด้วยกันจะปรองดองกันได้ตลอดเวลา การทะเลาะกันออกมา ก็ดีกว่าต่างคนต่างอยู่ พ่อแม่ที่โวยวาย อารมณ์เสีย เข้ามายุ่งและจัดการทันทีที่พี่น้องทะเลาะกัน มักช่วยลูกที่กำลังทะเลาะ ให้ยิ่งทะเลาะ ฝึกลูกให้จัดการความสัมพันธ์ระหว่างกัน ด้วยการเข้ามายุ่งเมื่อจำเป็น เช่น มีการลงไม้ลงมือ

5.อย่าทำตัวเป็น "ศาล" คอยจ้องหาว่าใครผิด
อย่าทำให้ลูกติดนิสัย ต้องคอยหาใครมาตัดสินผิดถูก สิ่งที่ต้องท่องไว้ "ลูกไม่ได้ต้องการศาล ลูกต้องการคนมาช่วยแก้ปัญหา" เวลาเข้ามาช่วย ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรับฟังกันและกัน ว่าปัญหาคืออะไร แต่ละฝ่ายรู้สึกอย่างไร ให้ "ลูก" ช่วยกันคิดว่าลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร (เช่น ใครจะเล่นก่อน จะสลับกันอย่างไร) เราควรฝึกลูกให้แก้ปัญหาและสร้างข้อตกลงได้ โดยการไม่เข้าไปตัดสินผิดถูกหรือเลือกข้าง (ซึ่งอย่างหลังนอกจากทำให้พี่น้องไม่ชอบหน้ากัน ลูกจะเริ่มหันมาไม่ชอบหน้าพ่อแม่)

6.ทำความเข้าใจใหม่ในเรื่อง "ความยุติธรรม"
ความยุติธรรมไม่ใช่การทำอะไรให้เหมือนกัน ไม่ต้องซื้อของให้เท่ากันทุกครั้ง ไม่ต้องได้สิทธิทุกอย่างเท่าเทียม "ความยุติธรรม" คือการตอบสนองที่ทำให้แต่ละคนได้สิ่งที่ตนเองพอใจ หรือไม่ได้สิ่งที่แต่ละคนไม่ควรจะได้รับ

7.เด็กทุกคนต้องการพื้นที่ส่วนตัว
พ่อแม่ควรมีเวลาที่จะให้กับลูกแต่ละคนแยกกัน เวลาที่แต่ละคนจะเล่นกับพ่อแม่ พูดคุย ปรึกษาปัญหา พี่น้องไม่ต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา การมีเวลาให้ลูกแต่ละคนเป็นส่วนตัว แสดงถึงการเห็นความสำคัญและความหมายในตัวตนของทั้งพี่และน้อง

ที่มา : หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
https://bit.ly/3ExNt0V


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท