Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตีลูกแล้วรู้สึกผิด วิธีปลอบโยนหัวใจทั้งแม่และลูก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

25-02-2023 09:05

พ่อแม่ยุคใหม่รู้ดีว่าการตีไม่ใช่การลงโทษที่ดีสำหรับลูก แต่ในเวลาคับขัน การตีก็พอจะเป็นวิธีหยุดพฤติกรรมเชิงลบของลูกได้รวดเร็ว แต่ถึงอย่างนั้น คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องยอมรับผลของการ ตีลูกแล้วรู้สึกผิด กลับมาอยู่ดี Alan E. Kazdin นักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและจิตเวชเด็ก อธิบายว่า พ่อแม่ที่ตีลูก มักทำด้วยความโกรธที่ควบคุมไม่ได้ หลังจากที่พยายามอบรมลูกด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ได้ผล จึงลงท้ายด้วยการตี

ภาพประกอบเคส

พ่อแม่ยุคใหม่รู้ดีว่าการตีไม่ใช่การลงโทษที่ดีสำหรับลูก แต่ในเวลาคับขัน การตีก็พอจะเป็นวิธีหยุดพฤติกรรมเชิงลบของลูกได้รวดเร็ว แต่ถึงอย่างนั้น คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องยอมรับผลของการ ตีลูกแล้วรู้สึกผิด กลับมาอยู่ดี Alan E. Kazdin นักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและจิตเวชเด็ก อธิบายว่า พ่อแม่ที่ตีลูก มักทำด้วยความโกรธที่ควบคุมไม่ได้ หลังจากที่พยายามอบรมลูกด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ได้ผล จึงลงท้ายด้วยการตี

การตีเป็นการหยุดลูกได้แค่ชั่วคราว เมื่อพบว่าลูกมักจะทำผิดเรื่องเดิมซ้ำอีกในเวลาต่อมา หรือไม่ก็พบว่าลูกเกิดความหวาดกลัวเพราะถูกตี จนไม่ได้จดจ่อในความผิดของตัวเอง แต่มองเห็นเพียงความเจ็บปวดจากการตีเท่านั้น และนั่นคือสิ่งที่ทำให้คุณพ่อ คุณแม่รู้สึกผิดและเสียใจในภายหลัง เพราะหลายครั้ง ลูกอาจไม่ได้ทำผิดรุนแรงถึงขั้นนั้นด้วยซ้ำ

ดังนั้นการตีนอกจากจะสร้างความบอบช้ำทั้งทางร่ายกายและจิตใจของลูกแล้ว การตีลูกแล้วรู้สึกผิดก็เป็นผลของการกระทำที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องแก้ไข และหาทางกระชับความสัมพันธ์ที่ดีให้กลับมาโดยเร็ว ด้วย 4 วิธีต่อไปนี้

1. กล่าวคำขอโทษ
“ขอโทษนะลูก” ตามคำแนะนำของ Trina Greene Brown นักเขียน นักเคลื่อนไหว และผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อปลูกฝังครอบครัว Parenting for Liberation ระบุว่า เมื่อพ่อแม่รู้สึกผิด ต้องกล่าวขอโทษอย่างจริงจังและจริงใจ ด้วยคำพูดที่สะท้อนการกระทำของตัวเอง และบอกลูกด้วยคำพูดเชิงบวก เช่น แม่รู้ดีว่าสิ่งที่แม่ทำลงไปทำร้ายความรู้สึกของลูก แม่ขอโทษ และเรามาตกลงกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกดีไหม

วิธีนี้นอกจากจะช่วยปลอบโยนความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่และลูกได้แล้ว ยังเป็นการสอนเรื่องความรับผิดชอบจากการกระทำของตนเอง และแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ได้โทษว่าเป็นความผิดของลูกฝ่ายเดียวอีกด้วย

2. โอบกอดกัน
Dan Siegel, MD, จิตแพทย์ และผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัย Mindful Awareness Research Center ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยืนยันว่า หลังจากที่พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและปลอบโยนลูกแล้ว อย่าลืมกอดลูกอีกครั้ง เพื่อทำให้ลูกรู้สึกสบายใจและไว้วางใจคุณพ่อคุณแม่เหมือนเดิม เพราะระหว่างการกอด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน oxytocin ออกมาช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และทำให้อารมณ์ของทั้งคู่สงบได้เร็วขึ้น

3. ใช้เวลาร่วมกันให้ดีที่สุด
คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดกับการตีลูกนานเกินไป รีบตั้งหลัก แล้วแก้ไขด้วยการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้อยู่กับลูก ใช้เวลาที่ดีร่วมกันและหัวเราะไปกับลูกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อทดแทนช่วงเวลาสั้นๆ ที่พลาดลงมือตีลูก แต่กินเวลาเนิ่นนานในใจลูก ให้มีช่วงเวลาที่ดีๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ความรักนี้แตกร้าวได้ในอนาคต

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจก็คือ ชวนลูกเขียนบันทึกประจำวันเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทบทวนตัวเอง เห็นวิธีการแก้ปัญหา หาข้อตกลงที่ดีร่วมกันแบบมีลายลักษณ์อักษร พร้อมให้ลูกมีส่วนร่วมด้วยเขียนชื่อตัวเองกำกับ

4. ซ่อมแซมความสัมพันธ์
ไม่มีเวทย์มนตร์ใดที่จะช่วยให้ความโกรธ ความรู้สึกผิดหายไป ได้ดีเท่ากับการยอมรับ และพร้อมที่จะแก้ไขด้วยตัวเราเอง วิธีการซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด ก็คือแทนที่จะพยายามแก้ไขการกระทำของลูกเพียงอย่างเดียว ให้คุณพ่อคุณแม่ลองตั้งใจปรับพฤติกรรมตัวเอง และพยายามจัดการความโกรธของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกก็จะเรียนรู้และซึมซับพฤติกรรมที่ดีขึ้นจากคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน

แม้ว่าบางวันอาจทำได้ดี และบางวันอาจจะทำไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยคุณพ่อคุณแม่ก็ได้เห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง พร้อมที่จะแก้ไข และเรียนรู้ไปพร้อมกับลูก แล้วทุกอย่างก็จะค่อยๆ ดีขึ้นแน่นอน

ที่มา : aboutmom
https://bit.ly/41pxrQk


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท