Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เสียงที่เปลี่ยนไปในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

25-02-2023 08:57

สงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมเราถึงสามารถแยกเสียงคนหนุ่มสาวและเสียงผู้สูงอายุได้แม้ไม่ได้เห็นหน้า เสียงของผู้สูงอายุนั้นจะเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปี และมักจะเกิดร่วมกับภาวะหูตึง เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีเสียงที่เปลี่ยนไป เสียงไม่ไพเราะ ไม่ใสเหมือนเดิม ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะเครียด อาย ไม่กล้าพูด เกิดการหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จนนำมาซึ่งภาวะซึมเศร้าได้

ภาพประกอบเคส

สงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมเราถึงสามารถแยกเสียงคนหนุ่มสาวและเสียงผู้สูงอายุได้แม้ไม่ได้เห็นหน้า เสียงของผู้สูงอายุนั้นจะเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปี และมักจะเกิดร่วมกับภาวะหูตึง เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีเสียงที่เปลี่ยนไป เสียงไม่ไพเราะ ไม่ใสเหมือนเดิม ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะเครียด อาย ไม่กล้าพูด เกิดการหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จนนำมาซึ่งภาวะซึมเศร้าได้

เสียงของผู้สูงอายุต่างจากเสียงของวันหนุ่มสาวอย่างไร
เสียงของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงแหบพร่า เสียงพูดมีลมรั่ว เสียงพูดที่ค่อยหรือเบาลง เสียงสั่น และไม่สามารถคุมโทนเสียงให้คงที่ได้

ภาวะเสียงที่เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุเกิดจากอะไร
1. เนื้อสายเสียงฝ่อลงทั้งสองข้างทำให้เกิดช่องว่างระหว่างสายเสียง เวลาออกเสียงจึงมีเสียงลมรั่ว
2. ความยืดหยุ่นของสายเสียงลดลง
3. ข้อต่อที่ใช้ในการขยับสายเสียงมีภาวะฝืด ติดขัดทำให้สายเสียงไม่พลิ้วไหวเหมือนเดิม

จากวิจัยพบว่า ในนักร้อง นักเทศน์ หรือผู้ที่ใช้เสียงอย่างถูกวิธีเป็นประจำ จะพบภาวะเสียงเปลี่ยนได้น้อยกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการฝึกใช้เสียงอย่างถูกวิธีเป็นประจำจะช่วยลดภาวะเสียงเปลี่ยนเมื่ออายุมากขึ้นได้

วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีเสียงเปลี่ยนไป
1. การดูแลสายเสียงและดูแลสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดการเปล่งเสียงที่มีคุณภาพ เช่น จิบน้ำบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการกระแอม ตะโกน หรือพูดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความแข็ง แรงของกล้ามเนื้อปอด ผ่อนคลายและลดความเครียด อย่าลืมว่าจิตใจที่แจ่มใสจะทำให้สุขภาพแข็งแรงตามไปด้วย
2. การฝึกพูดและเปล่งเสียงอย่างถูกวิธี ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องเสียงควรได้รับการฝึกพูดกับนักแก้ไขการพูด
3. การผ่าตัด วิธีนี้มักเป็นตัวเลือกหลังสุด เนื่องจากการผ่าตัดในผู้สูงอายุมีความเสี่ยง จะทำในกรณีที่การรักษาสองวิธีแรกยังไม่เป็นที่พอใจ

อาการเสียงแหบในผู้สูงอายุ จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไปโดยเสียงจะแหบพร่าและสั่นมากขึ้นทีละน้อยตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เสียงแหบเป็นในทันทีทันใดหรือเป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วควรปรึกษาโสต ศอ นาสิกแพทย์ เพื่อส่องกล้องตรวจสายเสียงโดยละเอียด เนื่องจากภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาวะเสียงเปลี่ยนในผู้สูงอายุได้ เช่น สายเสียงอักเสบจากการติดเชื้อ เนื้องอกบริเวณสายเสียง หรือโรคทางระบบประสาท เป็นต้น

ที่มา : ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย
https://bit.ly/41jVEYi


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท