Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อัลไซเมอร์ โรคที่ต้องเข้าใจไม่ใช่ความรุนแรง


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

25-02-2023 08:47

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งถึงอาการของโรคอัลไซเมอร์ ที่ผู้ป่วยจะมีความเสื่อมในเรื่องของความจำ การรับรู้ ความคิด จินตนาการ และการตัดสินใจ โดยอาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด

ภาพประกอบเคส

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งถึงอาการของโรคอัลไซเมอร์ ที่ผู้ป่วยจะมีความเสื่อมในเรื่องของความจำ การรับรู้ ความคิด จินตนาการ และการตัดสินใจ โดยอาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของโรค
พันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้ หรือการได้รับอุบัติเหตุทางสมองทำให้สมองได้รับบาดเจ็บ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือด เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 12 เป็นต้น

ระยะของโรคอัลไซเมอร์
1.ระยะก่อนสมองเสื่อม ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เล็กน้อย มีปัญหาในการจดจำข้อมูลใหม่ ไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ได้ แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ
2.สมองเสื่อมระยะแรก สูญเสียความจำในระยะสั้น ความจำใหม่หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานกว่าเดิม
3.สมองเสื่อมระยะปานกลาง ลืมและสับสนมากขึ้น ทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ การพูดและการใช้ภาษาจะบกพร่องชัดเจน
4.สมองเสื่อมระยะสุดท้าย สูญเสียความทรงจำในระยะสั้นและยาว การใช้ภาษาลดลงอย่างมาก การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ จะลดลง ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ทางการแพทย์จะมียาที่ช่วยควบคุมอาการป่วยไม่ให้แย่ลง นอกจากนี้คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวคือส่วนสำคัญที่สุด ที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

หลักการดูแลรักษาอัลไซเมอร์มี 4 บ ได้แก่
1.บอกเล่า คือ บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำหรือให้ทำอะไร ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล
2.เบี่ยงเบน คือหลีกเลี่ยงการโต้เถียง และไม่ต้องชี้แจงเหตุผล พยายามดึงจุดสนใจไปสู่กิจกรรมที่คุ้นเคยและรื่นรมย์
3.บอกซ้ำ คือเล่าให้ฟังว่าจะทำอะไรต่อไปด้วยท่าทีและน้ำเสียงเป็นมิตร ถ้าผู้ป่วยหงุดหงิดหรือทำไม่ได้ก็ต้องหยุด
4.แบ่งเบา/บำบัด คือสิ่งแวดล้อมต้องสงบ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไป และดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นระเบียบ

ที่สำคัญที่สุดในหลักการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ “ความเข้าใจ” คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานจากผู้ดูแลอย่างแท้จริง และคนไข้ไม่ได้แกล้งทำ ผู้ดูแลต้องทำใจยอมรับ อดทน และไม่ทอดทิ้ง ดูแลด้วยความรักความเข้าใจ พยายามให้กำลังใจผู้ป่วย และผู้ดูแลเองก็ต้องรู้ขีดจำกัดของตัวเอง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ อาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ หากผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพักและให้ผู้อื่นมาดูแลแทน

ที่มา : Rama Channel
https://bit.ly/3SupZj8


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท