Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

22-02-2023 14:43

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก

ภาพประกอบเคส

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก

วัคซีนพื้นฐานที่เด็กควรได้รับมีอะไรบ้าง
- อายุแรกเกิด วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ บีซีจี (BCG), ตับอักเสบบี (HB1)
- อายุ 1 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ ตับอักเสบบี (HB2) เฉพาะรายที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
- อายุ 2 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1)'', โปลิโอชนิดหยอด (OPV1)
- อายุ 4 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB2)''
, โปลิโอชนิดหยอด (OPV2) และโปลิโอชนิดฉีด (IPV) 1 เข็ม
- อายุ 6 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB3)''*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV3)
- อายุ 9-12 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR1)
- อายุ 1 ปี วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE1)
- อายุ 1 ปี 6 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4), โปลิโอชนิดหยอด (OPV4)
- อายุ 2 ปี 6 เดือน วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR2), ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE2)
- อายุ 4 ปี วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5), โปลิโอชนิดหยอด (OPV5)
- อายุ 11 ปี (นักเรียนหญิง ป.5) วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ เอชพีวี (HPV1, HPV2) ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
- อายุ 12 ปี (ป.6) วัคซีนที่ต้องได้รับ คือ คอตีบ-บาดทะยัก (dT)

''*ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ในกลางปี 2562 จะใช้วัคซีนรวม 5 โรคที่มี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ แทนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี

คำแนะนำในการให้วัคซีน
- คุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่า เด็กของท่านได้รับวัคซีนอะไร มีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนนั้นอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้สามารถให้การดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง
- การฉีดบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรค โดยทั่วไปเด็กทุกคนจะได้รับการฉีดเมื่อแรกเกิดที่ไหล่ซ้าย หลงฉีดจะไม่มีแผล ต่อมาประมาณ 3-4 สัปดาห์จะเห็นเป็นตุ่มแดงบริเวณที่ฉีด ถ้าตุ่มที่ขึ้นเกิดบวมแดงมาก อาจมีลักษณะคล้ายตุ่มหนองและบางครั้งอาจแตก ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาดและแห้งเสมอด้วยน้ำต้มสุก ตุ่มนี้จะค่อย แห้งลงและกลายเป็นแผลเป็นภายใน 3-6 สัปดาห์
- หลังการฉีดวัคซีนต่างๆ เด็กอาจตัวร้อนประมาณ 1 วัน ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น และให้ยาลดไข้ตามที่แพทย์สั่ง
- วัคซีนบางชนิดที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจพาบุตรหลานไปรับวัคซีนให้ครบทุกครั้งเพื่อจะให้ได้ผลในการป้องกนโรคได้อย่างเต็มที่
- ถ้าถึงกำหนดรับวัคซีน แต่เด็กเป็นไข้ควรเลื่อนไปจนกว่าจะหายไข้
- ในกรณีที่เด็กไม่สามารถไปรับวัคซีนตามนัดได้ควรพาเด็กไปรับวัคซีนให้ครบทันที่มีโอกาส ไม่ว่าจะเว้นไปนานเท่าไร โดยสามารถให้เข็มต่อไปได้โดยไม่ต้องตั้งต้นใหม่
- ถ้ามีอาการรุนแรงหลงฉีดวัคซีน เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการฉีดครั้งต่อไป
- วัคซีนตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข สามารถรับฟรีโดยไม่เสียค่าบริการ ตามศูนย์บริการสาธารณสุขและสถานพยาบาลต้นสังกัดของโครงการ “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า”

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
https://www.pidst.or.th/A746.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท