Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกเลือดกำเดาไหล


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

22-02-2023 14:09

เลือดกำเดาไหล มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กเล็ก อายุ 2-3 ขวบ ไปจนถึงวัยประถมต้น และมักหายได้เองเมื่ออายุโตขึ้น ส่วนน้อยพบได้ในเด็กบางรายที่มีรูปโครงสร้างจมูกที่ผิดปกติ ทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้น

ภาพประกอบเคส

เลือดกำเดาไหลเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กปกติ มักมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง เลือดมักหยุดได้เองภายใน 5-10 นาที หลังจากมีการบีบจมูกเบาๆ ซึ่งอาจเกิดจากการแคะ แกะ เกาบริเวณจมูกอย่างแรง จนทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุจมูกแตกง่าย มักพบในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศที่แห้ง หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า ศีรษะ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้จมูก เป็นต้น

เลือดกำเดาไหล มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กเล็ก อายุ 2-3 ขวบ ไปจนถึงวัยประถมต้น และมักหายได้เองเมื่ออายุโตขึ้น ส่วนน้อยพบได้ในเด็กบางรายที่มีรูปโครงสร้างจมูกที่ผิดปกติ ทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม เลือดกำเกาไหลอาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ปกครองควรทราบว่าเมื่อใดที่ลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหลมากจนอาจอันตรายและควรพาไปพบแพทย์ หากเลือดกำเดามีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • มีเลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีพรายย้ำ จ้ำเขียว หรือ มีจุดแดงหรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย
  • มีเลือดออกตามไรฟัน หรือลิ้นร่วมด้วย
  • มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอยหรือปนเลือดร่วมด้วย
  • เด็กมีไข้สูงร่วมด้วย
  • เด็กมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือซีดลง

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหล

  1. ให้เด็กนั่งตัวเอียงไปข้างหน้า และให้ศีรษะก้มลงเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลออกทางจมูกแทนที่จะไหลลงคอ ซึ่งอาจทำให้เด็กอาเจียนออกมาเป็นเลือดจากที่กลืนเข้าไป
  2. ใช้มือบีบจมูกบริเวณปีกจมูกเบาๆ ในข้างที่มีเลือดกำเดาไหล อย่างน้อย 10 นาที และหากเลือดยังไม่หยุดไหลนานเกิน 30 นาที ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์

วิธีป้องกันมิให้มีเลือดกำเดาไหลทำได้ง่ายเบื้องต้น

  1. ป้องกันมิให้บริเวณเยื้อบุจมูกแห้ง เพื่อไม่ให้คัน ลดการแคะจมูก โดยการใช้น้ำเกลือหยอดจมูก หรือทาปิโตรเลี่ยมเจลลี่เคลือบในรูจมูกก่อนนอน
  2. ดูแลอากาศในห้องนอน ไม่ให้แห้งเกินไป
  3. การรับประทานผัก ผลไม้ หรือ วิตามินซี เพื่อช่วยให้หลอดเลือดฝอยในจมูกแข็งแรง เลือดกำเดาไหลออกน้อยลง

ที่มา :
1.สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3xuwKaF
2.คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3E7rfTf


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท