Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ป้องกันผู้สูงอายุเกิดภาวะสำลักอาหาร


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

22-02-2023 12:44

คุณตาคุณยายหลายคนเคยไหมค่ะ เวลาที่นั่งรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่ดีๆ ก็เกิดภาวะสำลัก ซึ่งอาการดังกล่าวเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทั้งการติดเชื้อในปอดและกระแสเลือด รวมถึงจากการที่มีอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หากลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่ทราบถึงวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

ภาพประกอบเคส

คุณตาคุณยายหลายคนเคยไหมค่ะ เวลาที่นั่งรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่ดีๆ ก็เกิดภาวะสำลัก ซึ่งอาการดังกล่าวเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทั้งการติดเชื้อในปอดและกระแสเลือด รวมถึงจากการที่มีอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หากลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่ทราบถึงวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

การสำลักสิ่งของในผู้สูงวัย คือ การมีสิ่งแปลกปลอม เช่น อาหารอย่างขนมปัง, ลูกชิ้นปิ้ง หรือเมล็ดผลไม้ อุดตันที่หลอดลม ซึ่งหากทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้

สาเหตุของการสำลัก เกิดได้ทั้งจาก
1. รับประทานอาหาร และพูดในเวลาเดียวกัน
2. ฟันปลอมหลุด หรือหากเกิดในเด็กเล็กก็มักมาจากการรับประทานอาหารและวิ่งเล่นในเวลาเดียวกัน

อาการที่พบ ได้แก่
1. ผู้สูงอายุชี้ที่คอ หรือเอามือกุมคอ
2. พูดไม่ออก
3. หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงดัง
4. ไอไม่มีเสียงและขย้อน
5. ผิวหน้าซีดเขียว
6. อาจชักหรือหมดสติถ้าขาดอากาศนาน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ให้ผู้สูงอายุไอก่อนเพื่อขับสิ่งของแปลกปลอมออกมา
- ถ้าไอแล้วไม่ออกให้ใช้วิธี "ดันกะบังลม" 5 ครั้ง หรือทำไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งของจะหลุดออกมา

การดันกะบังลมด้วยตัวเอง
1. ใช้ 3 นิ้ว เช่น นิ้วโป้ง, นิ้วกลาง, นิ้วชี้ เพื่อหาตำแหน่งกะบังลม โดยวางทาบลงไปที่บริเวณลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือต่ำกว่าอก
2. ให้กำมืออีกข้างแล้ววางลงไปยังตำแหน่งของนิ้วชี้ (นิ้วที่อยู่ตรงกลาง)
3. ใช้มือข้างที่กางนิ้วทั้ง 3 สลับมากุมยังมืออีกข้าง
4. กางแขนออกพร้อมกับก้มหน้าลงในท่ากำมือ จากนั้นให้ดันกำปั้นเข้าหาตัว และกระแทกขึ้นบนที่กะบังลมต่อเนื่องกัน 5 ครั้ง หากสิ่งของยังไม่ออกให้ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

การให้ลูกหลานคอยช่วยดันกะบังลม
1. ให้ยืนด้านหลังผู้ป่วย และสอดขาข้างใดข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือเข้าไปอยู่ตรงกลางของผู้ป่วย
2. กางนิ้วทั้ง 3 เพื่อหาตำแหน่งกะบังลม
3. กำมือของผู้ช่วยเหลือเหมือนท่าดันกะบังลมด้วยตัวเอง
4. ให้ผู้ป่วยก้มหน้าลง โดยที่คนช่วยเหลือดันกำมือเข้าหาตัวผู้ป่วย พร้อมกับกระแทกมือขึ้นด้านบนกะบังลม เพื่อกระตุ้นให้สิ่งของหลุดออกมา

การป้องกันการสำลัก
1. ไม่ควรหัวเราะ หรือดูหนังและละครตลกขำขันขณะรับประทานอาหาร
2. ควรเคี้ยวอาหารอย่าง ช้าๆ เพื่อให้ละเอียดที่สุดก่อนกลืนอาหาร
3. ผู้สูงอายุควร หลีกเลี่ยงอาหารเหนียวเคี้ยวยาก ที่อาจทำให้ติดคอและสำลักในที่สุด
4. การปรุง อาหารให้ผู้สูงอายุเน้นอาหารอ่อนนิ่ม หรือหั่นเนื้อสัตว์ให้เล็กที่สุด หรือหากเป็นผักก็หั่นให้เล็กลง และต้มให้นิ่ม เช่นกัน

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://www.thaihealth.or.th/?p=255493


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท