5 เทคนิคป้องกันอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ
หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
22-02-2023 12:36
อาหารไม่ย่อย คือ อาการที่เกิดขึ้นระหว่างทานอาหารหรือหลังทานอาหารทีเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยส่วนมากจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
อาหารไม่ย่อย คือ อาการที่เกิดขึ้นระหว่างทานอาหารหรือหลังทานอาหารทีเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยส่วนมากจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
สาเหตุของอาหารไม่ย่อย
สาเหตุของการเกิดนี้มีได้หลายอย่าง ตั้งแต่พฤติกรรมกินอาหาร เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา กินมากไป กินเร็ว หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ เครียด หรือดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป
อาการของอาหารไม่ย่อย
ผู้ที่มีลักษณะอาหารไม่ย่อยมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง ตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีอาการปวดท้องช่วงบน จุกเสียด แสบท้อง แน่นท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หรือมีอาการแสบร้อนกลางทรวงอกหลังทานอาหาร โดยอาการนี้จะดีขึ้นและหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจเป็นๆ หายๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคและการเจ็บป่วยในระบบย่อยอาหารได้ด้วย
ปรับพฤติกรรม ป้องกันได้
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด
2. ในแต่ละมื้อควรทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
3. ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หากรู้สึกหิวบ่อยควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ
4. หากิจกรรมที่ทำให้ไม่เครียด หรือนอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ
5. งดทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
ที่มา: กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ https://www.dop.go.th/th/know/13/1470