Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การดูแลหน้ากากผ้า – หน้ากากอนามัย ที่เปียกชื้น


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

15-03-2022 10:51

ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาจทำให้มีฝนตกในบางพื้นที่ นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคที่มากับฝนแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อโรคโควิด-19 อีกด้วย ซึ่งสภาพเช่นนี้ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยที่สวมใส่ระหว่างวันเปียกฝนหรือละอองฝนจนเกิดการอับชื้นได้ง่าย

ภาพประกอบเคส

ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาจทำให้มีฝนตกในบางพื้นที่ นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคที่มากับฝนแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อโรคโควิด-19 อีกด้วย ซึ่งสภาพเช่นนี้ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยที่สวมใส่ระหว่างวันเปียกฝนหรือละอองฝนจนเกิดการอับชื้นได้ง่าย

กรมอนามัยจึงมีคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาวะจากการสวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • พกหน้ากากสำรอง เพื่อให้สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ทันที
  • กรณีใช้หน้ากากผ้า เมื่อกลับถึงที่พักให้ทำการซักด้วยสบู่หรือผงซักฟอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้ในครั้งต่อไป ในส่วนหน้ากากอนามัยให้เปลี่ยนใหม่ทันที
  • หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้แยกทิ้งลงในถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัย หรือนำใส่ถุงปิดให้สนิทแล้วทิ้งลงในถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิด
  • หากเป็นหน้ากากอนามัยของผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างรอเตียงของโรงพยาบาล หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัว ให้นำหน้ากากใส่ถุง แล้วราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อมัดปากถุง และใส่ถุงซ้อนอีกชั้น มัดปิดให้สนิท แล้วทิ้งลงในถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิด
  • หากเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อที่มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจน ที่สำคัญต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสวมและหลังทิ้งหน้ากากอนามัย รวมทั้งเมื่อถอดหน้ากากหรือสัมผัสหน้ากากโดยไม่ได้ตั้งใจ

อย่างไรก็ตามยังคงเน้นย้ำการเลือกขนาดให้เหมาะกับใบหน้า และสวมให้ถูกวิธีดึงหน้ากากให้คลุมถึงใต้คาง และไม่เลื่อนมาไว้ใต้คาง เพราะจะทำให้หน้ากากเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค อีกทั้งต้องปฏิบัติตามหลัก UP (Universal Prevention) อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป ทั้งการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 – 2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปยังสถานที่แออัด หรือระบายอากาศไม่ดี และงดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงหมั่นล้างมือ และตรวจตนเองเบื้องต้นด้วย ATK เมื่อสงสัยว่ามีความเสี่ยงหรือมีอาการ ถือเป็นพฤติกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ให้มากขึ้นด้วย

ที่มา : กรมอนามัย https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/030265/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท