ข้อแนะนำสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
14-03-2022 15:28
จากข้อมูลทั้งต่างประเทศ ในประเทศ รวมถึงสถิติของศูนย์ถันยรักษ์ และสถานวิทยามะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล สามารถสรุปแนวทางการตรวจคัดกรองตรวจคัดกรองสำหรับหญิงไทย
จากข้อมูลทั้งต่างประเทศ ในประเทศ รวมถึงสถิติของศูนย์ถันยรักษ์ และสถานวิทยามะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
สามารถสรุปแนวทางการตรวจคัดกรองตรวจคัดกรองสำหรับหญิงไทยโดยทั่วไปดังนี้
1.การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (breast self examination: BSE) ถือเป็นสิ่งแรกที่จะช่วยให้ผู้หญิงทุกคนป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม การตรวจนี้มีวัตถุประสงค์ให้สตรีรู้สึกถึงธรรมชาติ เต้านมของตนเองและหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตนเอง โดยควรเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปและตรวจเป็นประจำสม่ำเสมอทุกเดือนตลอดชีวิต ซึ่งขั้นตอนการตรวจประกอบด้วยการดูด้วยตาและการคลำด้วยมือ
2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการฝึกอบรม (clinical breast examination:CBE) ทุก 3 ปีในสตรีอายุ 20-39 ปี และทุกปีในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป
3.การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography)
- แนะนำให้ทำเป็นพื้นฐานเมื่ออายุ 35 ปี, หากผลตรวจปกติแนะนำตรวจอีกครั้งระหว่าง 35-40 ปี
- อายุ 40 ปีขึ้นไปตรวจปีละ 1 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ
- อายุ 70 ปีขึ้นไป ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของประโยชน์จากการตรวจเมื่อเทียบกับเรื่องของสภาวะสุขภาพในขณะนั้น(co-morbidity) และการมีชีวิตอยู่ต่อไป(life expectancy) หากคาดว่าจะมีอายุต่อไปไม่เกิน 5 ปีก็สามารถหยุดตรวจได้
สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เต้านมไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ที่มา : ศูนย์ถันยรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1041