Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก เด็กก็เติบโตอย่างสมบูรณ์ได้


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

11-02-2023 13:25

เมื่อครอบครัวหนึ่งต้องขาดพ่อ/แม่คนใดคนหนึ่งไป การเลี้ยงลูกเพียงลำพังจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหน้าที่ในการรับผิดชอบต่างๆ ต้องตกเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความกดดัน ความเครียด และความเหนื่อยล้ามากมายอาจเกิดขึ้นจนมีผลต่อสุขภาพจิต ซึ่งหากมีมากเกินไปอาจกระทบมาถึงลูกได้ ดังนั้น การหาสมดุลในการเลี้ยงลูกในรูปแบบนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ภาพประกอบเคส

Single Parenting หรือ ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางการเลี้ยงลูกที่พบเห็นได้ในปัจจุบันและเป็นเรื่องปกติ โดยข้อมูลจาก ‘รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน’ โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า สังคมไทยช่วงปี 2530-2556 มีครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิม 970,000 ครัวเรือน เป็น 1.37 ล้านครัวเรือน โดยเกือบร้อยละ 60 ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เป็นผลมาจากการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ และร้อยละ 28 มาจากการเสียชีวิตของคู่สมรส

เมื่อครอบครัวหนึ่งต้องขาดพ่อ/แม่คนใดคนหนึ่งไป การเลี้ยงลูกเพียงลำพังจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหน้าที่ในการรับผิดชอบต่างๆ ต้องตกเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความกดดัน ความเครียด และความเหนื่อยล้ามากมายอาจเกิดขึ้นจนมีผลต่อสุขภาพจิต ซึ่งหากมีมากเกินไปอาจกระทบมาถึงลูกได้ ดังนั้น การหาสมดุลในการเลี้ยงลูกในรูปแบบนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

คำแนะนำ ที่อาจเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงลูกของพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว เพื่อให้เด็กเติบโตได้อย่างไม่ขาดและสมบูรณ์ที่สุด

  1. ปรับ Mindset บรรเทาความกังวลของพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว

  2. ไม่กล่าวโทษตัวเอง เพราะการเลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่ความผิดของใคร

  3. หากกลัวว่าลูกจะไม่มีวินัย การกำหนดเวลาอย่างเป็นระบบและตั้งกฎในบ้านก็อาจช่วยได้
  4. รู้จักขอความช่วยเหลือ และพึ่งพาผู้อื่นบ้างในยามลำบาก

  5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความรู้สึกมั่นคงให้กับลูก

  6. ไม่กล่าวร้ายอีกฝ่ายให้ลูกฟัง

  7. หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูก พูดคุยหรือคลุกคลีในสิ่งที่ลูกชอบ
  8. แสดงพฤติกรรมด้านบวกให้ลูกเห็น เช่น หัวเราะชื่นชม ยิ้ม และโอบกอด
  9. สร้างความสนิทสนมกับลูก เพื่อให้ลูกกล้าพูดคุยหรือปรึกษาเมื่อมีปัญหา
  10. กล่าวชื่นชมเมื่อลูกขอคำปรึกษา เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจและกล้าพูดมากขึ้น

  11. เมื่อพ่อแม่แยกทาง พฤติกรรมไม่ดีของลูกอาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็ปรับปรุงได้เช่นกัน

  12. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว

  13. พยายามให้ลูกระบายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด ที่ไม่ใช่การด่าทอหรือแสดงพฤติกรรมไม่ เหมาะสม เพื่อจะได้เข้าใจความต้องการของอีกฝ่าย

  14. เลี้ยงลูกต้องมีบาลานซ์

  15. อย่าใจร้ายกับตัวเองเกินไป เมื่อเกิดความเครียด พ่อ/แม่อาจต้องวางกฎเกณฑ์บางอย่างลงบ้าง
  16. อย่าใจอ่อนกับลูกมากเกินไป เพราะอาจนำมาสู่พฤติกรรมบางอย่างที่แก้ไขยาก

  17. รับมือกับความรู้สึกและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ด้วยตัวเอง

  18. พยายามควบคุมอารมณ์ด้านลบของตัวเองให้ได้ เมื่ออยู่ต่อหน้าลูก
  19. ซื่อสัตย์กับอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง และบอกอีกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา เพื่อการรับรู้ที่ตรงกัน
  20. อย่าเอาปัญหาของผู้ใหญ่ไปคุยกับลูก

  21. ลูกต้องไม่รู้สึกขาดแบบอย่าง

  22. ไม่พูดเชิงลบเกี่ยวกับเพศตรงข้ามให้ลูกฟัง และอาจยกแบบอย่างคนในครอบครัวที่เป็นเพศตรงข้ามแทน
  23. คุณก็เป็นแบบอย่างให้ลูกได้ เช่น การออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ หรือดูแลสุขภาพฟันของตนเอง เหล่านี้จะเป็นคำแนะนำทางอ้อมให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

ที่มา : mappalearning
https://bit.ly/3DW1zbW


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท