Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การปรับตัวเมื่อเป็นครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

11-02-2023 13:18

ในอดีตที่ผ่านมา แม่จะเป็นบุคคลหลักในการเลี้ยงดูลูก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในสังคมไทยพ่อไม่ได้ถูกคาดหวังให้เป็นบุคคลหลักในการดูแลลูก อย่างไรก็ตามในบริบทของครอบครัวพ่อก็ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูลูกเช่นกัน การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างครอบครัว การเปลี่ยนแปลง สถานะทางครอบครัว จากครอบครัวที่อยู่กันเป็นคู่สามีภรรยาสู่รูปแบบครอบครัวที่หย่าร้างแยกทาง หรือเลิกราถือเป็นภาวะ

ภาพประกอบเคส

ในอดีตที่ผ่านมา แม่จะเป็นบุคคลหลักในการเลี้ยงดูลูก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในสังคมไทยพ่อไม่ได้ถูกคาดหวังให้เป็นบุคคลหลักในการดูแลลูก อย่างไรก็ตามในบริบทของครอบครัวพ่อก็ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูลูกเช่นกัน การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างครอบครัว การเปลี่ยนแปลง สถานะทางครอบครัว จากครอบครัวที่อยู่กันเป็นคู่สามีภรรยาสู่รูปแบบครอบครัวที่หย่าร้างแยกทาง หรือเลิกราถือเป็นภาวะ

วิกฤตเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของบุคคลทั้งสิ้น ทำให้บุคคลต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของ “พ่อ” ที่เปลี่ยนสถานะทางครอบครัวสู ่การเป็น “ครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว” และยังต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการเลี้ยงดูลูกแทนแม่ที่จากไป

การเปลี่ยนบทบาทของพ่อจากการสนับสนุนเรื่องของเศรษฐกิจในครัวเรือน การสอนบทบาททางเพศ เป็นแบบอย่างทางสังคม เตรียมพร้อมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมแก่ลูก มาเป็นพ่อที่เลี้ยงลูกคนเดียว รับหน้าที่ควบสองบทบาททดแทนแม่ของลูกที่ขาดหายไป จนอาจตั้งคำถามถึงความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรว่า “ฉันสามารถทำหน้าที่แทนแม่ของลูกได้ดีแค่ไหน?” โดยเฉพาะเมื่อพ่อต้องปรับบทบาทในการทำหน้าที่ เช่น การดูแลงานบ้าน การเลี้ยงลูก เตรียมอาหาร หรือแม้แต่การซักผ้ารีดผ้า

การวิจัยเรื่องการปรับตัวเมื่อเป็นครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว : ประสบการณ์ชีวิตพ่อเลี้ยงเดี่ยว โดยวารสารพยาบาลทหารบก พบว่า ลักษณะการปรับตัวของพ่อเลี้ยงเดี่ยวแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ

1) พ่อแม่ Two in one เป็นการปรับตัวเมื่อพ่อต้องสวมบทบาททั้งพ่อและแม่ การทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรแทน มารดา ทำหน้าที่ในการทำงานบ้านแทนแม่ และการปรับตัวเรื่องบทบาทหน้าที่การงาน 2) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เป็นการปรับชีวิต ส่วนตัวเมื่อต้องกลายเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวในเรื่องปรับตัวเรื่องเวลาการพักผ่อน การปรับตัวเรื่องการทำงาน และเวลาในการทำกิจกรรม ต่างๆ 3) จิตใจของชายที่เป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวเป็นการปรับจิตใจของพ่อเลี้ยงเดี่ยว พ่อเลี้ยงเดี่ยวมีความเครียดเรื่องเศรษฐกิจครัวเรือน รู้สึกเศร้าในการเสียคู่ชีวิต และรู้สึกวิตกกังวลในการตอบคำถามเกี่ยวกับแม่ 4) พ่อเลี้ยงเดี่ยวไม่เดียวดาย เป็นการปรับตัวด้านการพึ่งพา มีการขอความช่วยเหลือพึ่งพาจากครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้างเมื่อมีปัญหา

จะเห็นได้ว่าปรับตัวของพ่อเลี้ยงเดี่ยว อาจส่งผลต่อปัญหาด้านจิตสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านพฤติกรรม และด้านสัมพันธภาพครอบครัว การได้รับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษา จากครอบครัว คนรอบตัว จนเกิดการเรียนรู้เข้าใจ ยอมรับและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันหลายๆ ฝ่าย จะช่วยให้พ่อเลี้ยงเดี่ยวสามารถปรับตัวได้ จนสามารถวางแผนในการดูแลครอบครัวให้มีความสุขต่อไป

ที่มา : วารสารพยาบาลทหารบก


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท