Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

Brain Fog สภาวะสมองล้าที่บั่นทอนความคิดสร้างสรรค์


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-03-2022 15:19

Brain Fog คือสภาวะสมองล้า เพราะการทำงานอย่างหนักจนทำให้รู้สึกมึนหัว รู้สึกตื้อ หรือฟุ้งๆ ความจำสั้น ไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้ รวมไปถึงการบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานในระยะยาว ไปจนถึงเป็นตัวเริ่มต้นของโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างโรคเครียด หรืออาจถึงขั้นเกิดสภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

ภาพประกอบเคส

Brain Fog คือสภาวะสมองล้า เพราะการทำงานอย่างหนักจนทำให้รู้สึกมึนหัว รู้สึกตื้อ หรือฟุ้งๆ ความจำสั้น ไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้ รวมไปถึงการบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานในระยะยาว ไปจนถึงเป็นตัวเริ่มต้นของโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างโรคเครียด หรืออาจถึงขั้นเกิดสภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

สาเหตุของการเกิดภาวะสมองล้า

มีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้สายตามากเกินไป ขาดการบำรุงสมอง และอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อสมองแบบหนักหน่วง

วิธีแก้ไขภาวะสมองล้า

  1. ลดการทำงานแบบ Mutitasking
    หากจำเป็นต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน จะยิ่งทำให้สมาธิถูกแยกส่วน ส่งผลให้สมองต้องใช้งานหนักกว่าเดิม ดังนั้นลองจัดตารางการทำงานใหม่โดยโฟกัสให้งานเสร็จเรียบร้อยทีละอย่าง ไม่ควรทำหลายอย่างพร้อมกัน พร้อมทั้งจัดสรรเวลาการทำงานในแต่ละชิ้นให้ชัดเจน
  2. ไม่โต้ตอบกับงานยิบย่อยทันที
    ไม่ว่าจะเป็นการเช็กแจ้งเตือนจากอีเมล ตอบข้อความที่แทรกขึ้นมาระหว่างการทำงาน กิจกรรมและงานยิบย่อยเหล่านี้ส่งผลกระทบกับเรามากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะทำให้แผนงานที่วางมารวนแล้ว ยังทำให้สมาธิที่เราตั้งอกตั้งใจพังลงได้อย่างง่ายดาย แถมมันยังทำให้เราเบลอหนักขึ้นไปอีก
  3. ขจัดความยุ่งเหยิงใกล้ตัว
    สภาพแวดล้อมการทำงานก็เป็นส่วนสำคัญที่ห้ามละเลย พยายามอย่าปล่อยให้ความไร้ระเบียบบนโต๊ะทำงานหรือห้องของคุณ มาเป็นหนึ่งในปัญหาให้เปลืองเนื้อที่สมอง คุณอาจเริ่มจัดการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยการลดอะไรที่ไม่จำเป็น ลองสร้างสเปซให้กับพื้นที่ของคุณโดยการจัดการอะไรต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
  4. ออกมาเคลื่อนไหวร่างกายสักนิด
    การอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ โดยไม่ทำอะไรเลยจะยิ่งทำให้สมองและร่างกายฝืดเคืองไม่ปลอดโปร่ง ลองขยับร่างกาย ออกกำลังกายเบาๆ หรือออกไปสูดอากาศสักหน่อย จะช่วยเสริมสร้างให้สภาพจิตใจและร่างกายดีขึ้น
  5. ลองหาเวลาฝึกสมาธิ
    การฝึกสมาธิโดยหายใจลึกๆ วันละครึ่งชั่วโมง จะช่วยลดความเครียดและทำให้มีสมาธิพร้อมความจำที่ดีขึ้น จะช่วยเยียวยาและเติมเต็มความสุขให้กับสมองได้บ้าง
  6. งดเสพโซเชียลบั่นทอน
    ในโลกโซเชียล ก็อาจต้องเจอกับอะไรที่บั่นทอนให้เราต้องเสียศูนย์กว่าเดิม การพบเจอทั้งข่าวดี ข่าวร้าย ที่เข้ามารบกวนจิตใจ นั่นทำให้แทนที่จะรู้สึกว่าได้พัก ยิ่งเครียดหนักไปกันใหญ่ ลองเสพคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และจรรโลงใจหรือไม่ก็วางมือถือและหากิจกรรมอื่นทำจะช่วยให้จิตใจดีขึ้น
  7. หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย
    พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และบำรุงสมองด้วยสารอาหารที่ดีต่อสมองอย่าง นำมันปลา ผักผลไม้อื่นๆ ทั้งนี้ ต้องอย่าลืมหาเวลาพักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ รู้จักการจัดการกับความเครียด อย่าฝืนทำงานถ้าหากสมองกำลังเหนื่อยล้า

ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30597


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท