Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การดูแลน้ำหนักในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

11-02-2023 12:10

เมื่ออายุยิ่งเพิ่ม ระบบการทำงานในร่างกายก็ไม่สมบูรณ์ น้ำหนักที่มากขึ้นก็ตามมา จนส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี นำมาซึ่งโรคของผู้สูงอายุที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป การดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ แต่จะให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนักเหมือนเด็กและวัยรุ่นคงลำบาก ด้วยร่างกายและสภาวะที่เปลี่ยนไป การลดน้ำหนักในผู้สูงอายุจึงควรทำอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ยังได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนควบคู่กันไปด้วย

ภาพประกอบเคส

เมื่ออายุยิ่งเพิ่ม ระบบการทำงานในร่างกายก็ไม่สมบูรณ์ น้ำหนักที่มากขึ้นก็ตามมา จนส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี นำมาซึ่งโรคของผู้สูงอายุที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป การดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ แต่จะให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนักเหมือนเด็กและวัยรุ่นคงลำบาก ด้วยร่างกายและสภาวะที่เปลี่ยนไป การลดน้ำหนักในผู้สูงอายุจึงควรทำอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ยังได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนควบคู่กันไปด้วย

อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

การลดน้ำหนักให้ได้ผลควรค่อย ๆ เป็นค่อยไป เพราะการลดอาหารกะทันหัน จะทำให้เกิดอาหารหิวมาก ทำให้ท้อและลดไม่สำเร็จ ซึ่งการลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหาร ทำได้โดย

  • ดื่มน้ำก่อนกินอาหาร 1-2 แก้ว และดื่มก่อนอิ่มอีก 1-2 แก้ว จะช่วยให้กินอาหารได้น้อยและอิ่มเร็วขึ้น
  • ควรกินอาหารให้ตรงเวลา และฝึกให้กินอาหารน้อยลงในแต่ละมื้องดอาหารระหว่างมื้อ และไม่ควรกินมื้อเย็นดึกเกินไป หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูงก่อนเข้านอน
  • ควรกินอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด
  • ไม่ควรเสียดายอาหารในขณะที่หิวจัดเพราะจะทำให้ซื้ออาหารจำนวนมาก
  • พยายามหางานอดิเรกทำเมื่อกินอาหารเสร็จหรือในยามว่างระหว่างมื้ออาหาร
  • ถ้าเป็นคนหิวเก่ง อาจต้องใช้อาหารลดน้ำหนักซึ่งมีพลังงานต่ำ ทำให้รู้สึกอิ่ม
  • หาวิธีกระตุ้นตนเองในการลดน้ำหนัก เช่น ให้รางวัลตนเองเมื่อลดน้ำหนักได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ชักชวนให้คนอื่น ๆ มาลดน้ำหนักแข่งขันกัน

การมีภาวะโภชนาการที่ดี ควรยึดหลักในการกินอาหาร ดังนี้

  • กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย
  • กินข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เพื่อให้ได้ใยอาหารและช่วยให้อิ่มนาน
  • กินอาหารให้ครบทุกมื้อ แต่ลดปริมาณในแต่ละมื้อลง โดยเฉพาะมื้อเย็น
  • เลือกกินอาหารที่ใช้พลังงานต่ำ โดยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง อบแทนการทอด เช่น แกงจืด แกงส้ม แกงเลียง

อาหารที่ควรกิน

  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
  • ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ
  • ผักสดทุกชนิด เช่นผักกาดหอม ผักบุ้ง แตงกว่า ผักคะน้า กะหล่ำปลี ต้นหอม เป็นต้น
  • ผลไม้สดที่ไม่หวานจัดทุกชนิด
  • ใช้ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันรำข้าวปรุงอาหาร

อาหารที่ไม่ควรกิน

  • อาหารมันและของทอดทุกชนิด เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ปาท่องโก๋ ก๋วยเตี๋ยวผัด หมูสามชั้น หนังไก่ ไข่แดง
  • ขนมหวานทุกชนิด เช่น ของเชื่อมต่าง ๆ ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา น้ำอัดลม ฯ ลฯ
  • อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ แกงเผ็ดต่าง ๆ แกงบวช ขนมกะทิต่าง ๆ ไอศกรีม ฯลฯ

นอกจากนี้อย่าลืมหาเวลาให้ออกไปเดินยืดเส้นยืดสายบ้างอย่างน้อย 20 นาที ไม่จำเป็นต้องเร่งความเร็ว ขอแค่ได้ออกไปเดินรับอากาศดีๆ ยืดเส้นยืดสายเป็นพอ หากแข็งแรงมากพอค่อยเพิ่มเวลาขึ้นตามสภาพร่างกายได้

ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
https://bit.ly/3DWUlV7


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท