Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำไม...ผมหงอก ?


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

11-02-2023 11:47

ผมหงอก (ผมขาว) เป็นที่รู้กันดีว่าสีเทาของเส้นผมนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของเม็ดสี ในขณะที่ผมขาวคือไม่มีเม็ดสีเลย สมมติฐานหนึ่งของการเกิด หรือสีขาว-เทา มาจากกรรมพันธุ์หรือพ่อแม่เรานั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์จะต้องสืบค้นให้ลึกลงไปอีกว่าเพราะอะไร และทำไม?? เพราะเมื่อแก่ตัวลงเส้นผมของทุกคนก็ต้องเปลี่ยนสีเหมือน ๆ กัน หรือมีผมหงอกเกิดขึ้น ซึ่งโอกาสที่ผมจะหงอกนั้นเพิ่มขึ้นถึง 10-20% เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว

ภาพประกอบเคส

ผมหงอก (ผมขาว) เป็นที่รู้กันดีว่าสีเทาของเส้นผมนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของเม็ดสี ในขณะที่ผมขาวคือไม่มีเม็ดสีเลย สมมติฐานหนึ่งของการเกิด หรือสีขาว-เทา มาจากกรรมพันธุ์หรือพ่อแม่เรานั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์จะต้องสืบค้นให้ลึกลงไปอีกว่าเพราะอะไร และทำไม?? เพราะเมื่อแก่ตัวลงเส้นผมของทุกคนก็ต้องเปลี่ยนสีเหมือน ๆ กัน หรือมีผมหงอกเกิดขึ้น ซึ่งโอกาสที่ผมจะหงอกนั้นเพิ่มขึ้นถึง 10-20% เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว

เม็ดสีผมนั้นมี 2 ชนิด คือ เม็ดสีเข้ม เรียกว่า ยูเมลานิน (eumelanin) และเม็ดสีอ่อน เรียกว่า ฟีโอเมลานิน (pheomelanin) ซึ่งเม็ดสีทั้ง 2 ชนิดเมื่อผสมกันแล้วจะได้เฉดสีผมที่หลากหลาย

เม็ดสีเมลานินนั้นถูกสร้างมาจากเซลล์เม็ดสีที่มีชื่อเฉพาะว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) เซลล์เมลาโนไซต์นี้อยู่บริเวณชั้นผิวหนังด้านบนที่เส้นผมหรือขนนั้นงอกขึ้นมา โดยเส้นผมแต่ละเส้นจะงอกขึ้นมาจากปุ่มรากผม อันเดียวเท่านั้น

ขนในแต่ละระยะมีอายุไม่เท่ากัน ตลอดจนขนในแต่ละส่วนของผิวก็มีอายุไม่เท่ากัน เช่น บนศีรษะก็จะมีอายุประมาณ 3-4 ปี ใต้วงแขน ก็ประมาณ 1-3 เดือน นอกจากนี้ยังขึ้นกับเชื้อชาติอีกด้วย โดยวงจรชีวิตของขน มี 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะ Anagen เป็นระยะที่เส้นผมมีการเจริญมากที่สุด 2-7 ปี ในระยะนี้ต่อมขนอยู่ลึกในชั้น dermis มีเส้นเลือดมาเลี้ยง มีลักษณะเป็นกระเปาะ เป็นระยะที่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดสี และมีรากที่พร้อมจะสร้างขนใหม่ พอครบอายุของมันแล้ว เส้นขนจะไม่โตขึ้นอีก ซึ่งส่วนใหญ่เส้นผมบนหนังศีรษะประมาณ 80-85% จะอยู่ในระยะนี้
  2. ระยะ Catagen บางที่เรียกว่าระยะที่มีการเปลี่ยนแปลง ระยะนี้ต่อมขนจะเลื่อนสูงขึ้น สีเริ่มจางลง แยกตัวจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยง และหลุดไปในที่สุด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน
  3. ระยะ Telogen เส้นผมเข้าสู่ระยะนี้เมื่อการเจริญของเส้นผมนั้นสมบูรณ์แล้ว คือ งอกและหลุดร่วงไป ส่วนใหญ่เส้นผมบนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 10-15% ซึ่งเป็น ระยะที่ไม่มีเส้นผม หลังจากนั้นร่างกายก็จะสร้างขนระยะ Anagen ให้เกิดขึ้นมาใหม่แทนที่ วนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

เมื่อเริ่มสร้างเส้นผม เซลล์เมลาโนไซต์จะให้เม็ดสีเมลานินกับเซลล์ที่มีเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างหนึ่งของเส้นผม เส้นขน ผิวหนัง และเล็บของเรานั่นเอง ทำให้โครงสร้างเหล่านี้มีสีสันที่แตกต่างกันไป

ดร.เดสมอนด์ โทบิน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเซลล์ชีววิทยาได้สันนิษฐานว่าปุ่มรากผมนั้นมี Melanogenic clock ที่จะชะลอหรือหยุดการทำงานของเซลล์เมลาโนไซต์ ซึ่งจะไปลดเม็ดสีที่เส้นผมได้รับนั่นเอง ทำให้เกิดผมขาวผมหงอก หรือสีของเส้นผมที่อ่อนลง สังเกตได้ว่าก่อนที่ผมเราจะร่วงนั้น ปลายรากผมมักจะมีสีจางลงอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้การที่เส้นผมเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือมีผมหงอกนั้นเพราะวัยที่เปลี่ยนไป และกรรมพันธุ์ เนื่องจากยีนส์ที่ควบคุมการเสื่อมประสิทธิภาพของเม็ดสีของแต่ละปุ่มรากผมนั่นเอง ทำให้ผมแต่ละเส้น ของคนแต่ละคน มีอัตราการหลุดร่วงและเกิดผมหงอกผมขาว เร็ว-ช้าแตกต่างกันไป

ปัจจัยอื่นๆที่สามารถเปลี่ยนสีของเส้นผม

  1. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factor) เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ฮอร์โมน อายุ การกระจายตัวของสารต่างๆในร่างกาย เป็นต้น
  2. ปัจจัยภายนอก (Intrinsic factor) เช่น สภาพภูมิอากาศ มลพิษ สารพิษ การสัมผัสกับสารเคมี เป็นต้น

ความจริงของการงอกของเส้นผม
หนังศีรษะของคนเรามีเส้นผมเฉลี่ย 100,000-150,000 เส้น

  • เส้นผมแข็งแรงมาก แต่ละเส้นสามารถทนต่อความเครียด (Strain) ได้ถึง 100 กรัม รวมแล้วเส้นผมบนศีรษะของคน 1 คน สามารถทนได้ถึง 10-15 ตัน (ถ้าหนังศีรษะก็แข็งแรงพอ)
  • เส้นผมแต่ละเส้นนั้นงอกได้เอง โดยมีวงจรชีวิตแตกต่างกันไป
  • เส้นผมมีอัตราการแบ่งตัวแบบไมโตซิส (Mitosis) มากที่สุด เฉลี่ยแล้ว 0.3 มิลิเมตร ต่อวัน และ 1 เซนติเมตร ภายใน 1 เดือน

ผมหงอกที่มักพบในคนสูงอายุเมื่อเกิดแล้วจะอยู่ถาวร ส่วนผมหงอกที่กลับดำได้นั้นเป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย ถ้ารักษาโรคหายผมจึงกลับดำได้ โรคที่ทำให้เกิดผมหงอกได้ เช่น เบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ การบาดเจ็บและโรคของระบบประสาท ด่างขาว ผมร่วงเป็นหย่อม การล้มป่วยบางอย่างเช่น มาลาเรีย และเป็นไข้หวัดใหญ่

ช่วงอายุที่ผมเริ่มหงอกขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ในฝรั่งผิวขาวผมเริ่มหงอกครั้งแรกตั้งแต่อายุ 24 - 44 ปี ในคนผิวดำเริ่มหงอกเมื่ออายุ 34 - 54 ปี ส่วนชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นผมจะเริ่มหงอกตั้งแต่อายุ 30 - 40 ปี ผมที่เริ่มหงอกตามวัยนี้ไม่สามารถกลับมาดำได้อีกเลย

การขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามินบี12 อาจทำให้มีผมหงอกได้ ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้ผมหงอกได้ บางคนเชื่อว่าความเครียดทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี ถ้ากินวิตามินบีขนาดสูงอาจทำให้ผมหงอกกลับดำได้ การกินยาบางตัว เช่น คลอโรควิน อาจทำให้คนที่มีผมสีอ่อนหรือผมน้ำตาลแดงกลายเป็นสีขาวหรือผมหงอกได้ มีการทดลองในหนูพบว่าถ้าขาดสาร Pantothenic ทำให้ขนกลายเป็นสีขาวได้

วิธีแก้ปัญหาผมหงอก ได้แก่

  1. ปล่อยให้ผมหงอกขาวตามธรรมชาติ
  2. ถ้าผมหงอกเฉพาะส่วนปลายผม ไม่เกิน 1 ใน 10 อาจใช้การตัดซอยเอาเฉพาะส่วนปลายที่หงอกทิ้ง เหมาะสำหรับผู้ที่ผมเริ่มหงอกในช่วง 1 - 2 ปีแรก เพราะผมจะเริ่มหงอกเฉพาะส่วนปลายเท่านั้น
  3. การย้อมผม

โดยในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผมหงอกที่เกิดตามวัยให้หายขาดได้

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
https://bit.ly/3x5j5qw


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท